หัวข้องานวิจัย ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้อง
กับชีวิตจริงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และ
ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย ทนงเกียรติ พลไชยา
สังกัด โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 19 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 5) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความ สามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทาง คณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีความสามารถในการให้การปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงมีพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น
TITLE : EFFECTS OF ORGANIZING LEARNING ACTIVITIES USING REALISTIC MATHEMATICS EDUCATION APPROACH ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING AND REASONING ABILITIES OF TENTH GRADE STUDENTS
THE RESEARCHER : TANONGKIAT POLNCHAIYA
ORGANIZATION : PRINCESS CHULABHORNS COLLEGE LOEI UNDER
THE OFFICE OF MATHAYOM SUKSA EDUCATIONAL SERVICE
AREA 19 , CHIANKHAN DISTRICT , LOEI PROVINCE.
ABSTRACT
The purposes of this research were 1) to compare mathematical problem solving ability of students learning by using an organizing learning activities using realistic mathematics education approach between, before and after learning., 2) to compare mathematical reasoning ability of students learning by using an organizing learning activities using realistic mathematics education approach between, before and after learning., 3) to compare mathematical problem solving ability of students between experimental group and control group., 4) to compare mathematical reasoning ability of students between experimental group and control group., and 5) to study the mathematical problem solving and reasoning abilities of students learning by using an organizing learning activities using realistic mathematics education approach. The subjects were tenth grade students of Princess Chulabhorns College Loei school in the first semester of the academic year 2016. There were 24 students in the experimental group and 24 students in the control group. The experimental instruments constructed by the researcher were lesson plans focusing on the organizing learning activities using realistic mathematics education approach and conventional plans. The instruments for data collection were mathematical reasoning ability tests and mathematical communication ability tests. The results of the study revealed that:
1) the mathematical problem solving ability of students after learning by using the organizing learning activities using realistic mathematics education approach were higher than those before the experiment at a .05 level of significance., 2) the mathematical reasoning ability of students after learning by using the organizing learning activities using realistic mathematics education approach were higher than those before the experiment at a .05 level of significance., 3) the mathematical problem solving ability of students in the experimental group were higher than those of the students in the control group at a .05 level of significance., 4) the mathematical reasoning ability of students in the experimental group were higher than those of the students in the control group at a .05 level of significance., and 5) the mathematical problem solving and reasoning abilities of students learning by using an organizing learning activities using realistic mathematics education approach were developed in positive direction