ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวธัญญ์ฐิตา พงศธรภูริวัฒน์
สถานศึกษา โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนาของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบ
กลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนด้วย
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 4 โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้งหมดจำนวน 8 ชุด 2) หน่วยการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์9 เรื่องอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 หน่วย 8 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์9 เรื่องอนุกรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ชุด ทั้งหมด 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลการหาประสิทธิภาพของ
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80 / 80 คำนวณจากสูตร E1 / E2 , หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากคะแนนสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน (E.I.) การทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากคะแนนสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนใช้การทดสอบค่าที (t test แบบ Dependent) และการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากคะแนนประเมินความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคเรียนรู้
ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 6 ชุด ได้ผ่านขั้นตอนการหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน จนแบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.92/82.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .6520 หรือคิดเป็นร้อยละ 65.20 แสดงว่านักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีความก้าวหน้าร้อยละ 65.20
3. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องอนุกรม โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิคเรียนรู้ร่วมกัน (LT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50
โดยสรุป การศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ส่งผลให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้ กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนทำให้เรียนรู้
ได้เร็วขึ้น เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น