ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนประชาสามัคคี
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ผู้ประเมิน นายสมพร สังข์โกมล รองผู้อ านวยการช านาญการ
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนประชาสามัคคี ส านักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ผู้ประเมินได้ด าเนินการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมิน
แบบจ าลองซิปป์(Cipp Model) มาประยุกต์ใช้ในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ
1) เพื่อประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยของโครงการ
3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ และ 5) เพื่อ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการด าเนินการตามโครงการ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง
นักเรียนโรงเรียนประชาสามัคคีส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 ปีการศึกษา
2559 จ านวนทั้งสิ้น 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินผล
โครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนประชาสามัคคีจ านวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบทและ
สภาพแวดล้อมของโครงการ จ านวน 10 ข้อ 2) ด้านปัจจัยของโครงการ จ านวน 10 ข้อ 3) ด้าน
กระบวนการของโครงการ จ านวน 10 ข้อ และ 4) ด้านผลผลิตของโครงการ จ านวน 10 ข้อ ซึ่งเก็บ
รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งผ่านการ
ทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefifieient) ตามวิธีการของ ครอนบาค
(Cronbach) โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
เลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t–test แบบ Dependent Samples ด้วย
โปรแกรมส าเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อมของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะ
ผู้บริหารและครูผู้สอน มีผลการด าเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาระดับผล
การด าเนินงานแต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ล าดับ ได้แก่ นักเรียนมีความต้องการ
โครงการพัฒนางานวิชาการ สภาพสังคมปัจจุบันโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน และโรงเรียนมี
โครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมโครงการนี้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะผู้บริหารและครูผู้สอน
มีผลการด าเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาระดับผลการด าเนินงานแต่ละ
รายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ล าดับ ได้แก่ ห้องเรียนมีความเหมาะสมต่อโครงการ
ข
รองลงมาคือ ครูและผู้เกี่ยวข้อง เข้าใจขั้นตอนในการด าเนินงานโครงการ และวัสดุและครุภัณฑ์ที่ใช้ใน
การด าเนินโครงการมีความเหมาะสม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะผู้บริหารและ
ครูผู้สอน มีผลการด าเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาระดับผลการด าเนินงาน
แต่ละรายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ล าดับ ได้แก่ บรรยากาศการเรียนการสอนมีความ
เป็นเอง รองลงมาคือ บรรยากาศการเรียนการสอนมีทางเลือกคือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสร้าง
หรือปฏิบัติสิ่งที่ตนเองอยากท า มีการก าหนดแผนหรือปฏิทินการปฏิบัติงานเหมาะสม ตามล าดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะผู้บริหารและครูผู้สอน
มีผลการด าเนินงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาระดับผลการด าเนินงานแต่ละ
รายการ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ล าดับ ได้แก่ ครูมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนแสดง
ความคิดอย่างหลากหลาย รองลงมาคือ ครูสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นส าคัญ
และนักเรียนมีการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองท าอยู่และที่ได้รับ
มอบหมาย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
5. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย การทดสอบทาง
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การ
ทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT) ชั้นประถมศึกษาที่ 3 การ
ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานกลาง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, 4, 5 และ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และการประเมินผลการอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปี
การศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 ของนักเรียนโรงเรียนประชาสามัคคีส านักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 หลังการด าเนินการตามโครงการมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อน
ด าเนินการตามโครงการอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และโดยภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนเพิ่มขึ้น 11.62 เมื่อพิจารณาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละระดับชั้นที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น
สูงสุด 3 ล าดับแรก ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 37.83
รองลงมาคือระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 29.73 และ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 16.74 ตามล าดับ