ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
ผู้ศึกษาค้นคว้า วิชิต เพ็ชรปานกัน
สถานศึกษา โรงเรียนวัดสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และส่งผลให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนา
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลัง
ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ และ3) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสระลงเรือ หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านสระลงเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ จำนวน 10 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง
การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ จำนวน 10 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.75 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.35
ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t test)
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 88.94/87.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( =4.70 , S.D. = 0.50)
โดยสรุป ผลการศึกษาค้นคว้าโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
เทคนิค STAD ทำให้ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ส่งผลให้นักเรียน
มีความสนุกสนาน และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้