ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน
บ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
ผู้ประเมิน นายวิจารย์ อาจสาลี ผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์(CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีจำนวนทั้งสิ้น 43 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 6 คนคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 56 จำนวน 15 คนและผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 56 จำนวน 14 คน การรายงานการประเมินโครงการ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ (Input Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการ
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ (Process Evaluation) เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ
3.1 การกำหนดนโยบาย
3.2 การขับเคลื่อนและสร้างความเข้มเข็ง
3.3 การจัดการเรียนรู้
3.4 การนิเทศ กำกับ ติดตาม
3.5 การประเมินผลและปรับปรุง
4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) เกี่ยวกับการความสอคล้องของผลการดำเนินโครงการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้าน โคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
5. เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามชนิดมาตรวัดประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ซึ่งผ่านการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefifieient) ตามวิธีการของ ครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น .924 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ (frequency) และค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) นำเสนอข้อมูลโดยตารางวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความพึงพอใจโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยใช้แบบประเมิน CIPP MODEL เป็นแบบประเมินตนเองของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale)
¬ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยใช้แบบประเมิน CIPP MODEL เป็นแบบประเมินตนเองของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale)
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม ปีการศึกษา 2559 กำหนดระยะเวลาการประเมิน ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 และสิ้นสุด การประเมินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
การวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ด้านข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการหาค่าร้อยละ เพื่อบรรยายเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปตารางประกอบความเรียง
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถาม ที่เป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ประเมินใช้ค่าเฉลี่ยพื้นฐานโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตอนที่ 3 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2558 และหลังการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2559 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้คะแนนจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประจำปีการศึกษา 2558 2559
สรุปผลการประเมินโครงการ
จากการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 หลังการดำเนินงาน จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต จากการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านด้านสภาวะแวดล้อม รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านปัจจัยและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหาของสังคมไทยด้านการขาดแคลนครูผู้สอนในชนบท รองลงมา ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับการสนับสนุนให้โรงเรียนมีการพัฒนาการใช้สื่อเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น 2) วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านการกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสาม ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มาตรา 63 ว่าด้วยการจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ฯลฯ เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การสอน 2) วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา เพื่อจัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาและชุมชน 3) วัตถุประสงค์ของโครงการตอบสนองความต้องการทั้งครูและผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้รับข่าวสารที่ใหม่และรวดเร็วมากขึ้น
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ความเหมาะสมในการจัดบุคลากรรับผิดชอบงานวิชาการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ ความเหมาะสมในการจัดระบบการบริหารงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของสถานศึกษา และข้อที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสาม ได้แก่ ความ เหมาะสมในการติดตั้งระบบรับและส่งสัญญาณของเจ้าหน้าที่ติดตั้ง เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความเหมาะสมในการจัดงบประมาณเพื่อปรับปรุงพัฒนาโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของสถานศึกษา
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า
1) การกำหนดนโยบาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีระบบประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างชัดเจนรองลงมา ได้แก่ การร่วมประชุมเพื่อรับฟังคำชี้แจงแผนการดำเนินงานจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยอันดับสาม ได้แก่ การร่วมกำหนดนโยบายและแผนการส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกลอย่างเป็นระบบ
2) การขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาทางไกลรองลงมา ได้แก่ การประสานหน่วยงานภายนอกเพื่อสนับสนุนเครือข่ายให้เข้มแข็ง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับสาม ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร การมีส่วนร่วมจัดหาและพัฒนาสื่อนวัตกรรม และการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรโรงเรียนที่ดำเนินการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้ประสบผลสำเร็จ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ
3) การจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การสนับสนุนให้ครูตรวจผลงานนักเรียน รองลงมา ได้แก่ มีการช่วยเหลือแนะนำและตอบคำถามในเนื้อหาสาระที่นักเรียนไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับสาม ได้แก่ 1) ครูเอาใจใส่กำกับดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนและ 2) ครูจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมนอกตารางเวลาออกอากาศเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนรู้ไม่ทันตามการสอนของครูต้นทาง สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมและร่วมทำกิจกรรมพร้อมกับนักเรียนต้นทางอย่างตั้งใจ
4) การนิเทศติดตาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศและติดตามการจัดการศึกษาทางไกล รองลงมา ได้แก่ การกำหนดปฏิทินการดำเนินงานนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับสาม ได้แก่ โรงเรียนมีแผนการสรุปและรายงานผลการนิเทศ สำหรับข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรม
5) การประเมินผลและปรับปรุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนดำเนินการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินการจัดการศึกษาทางไกล รองลงมา ได้แก่ นำข้อมูลจากการประเมินผลการจัดการศึกษาเป็นแนวในการปรับปรุงการเรียนการสอนในปีต่อไป และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับสาม ได้แก่ การมีส่วนร่วมตรวจสอบการประเมินผลการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า
1) ด้านผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สูงขึ้น รองลงมา ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนได้ และประสิทธิผลด้านความรู้ของนักเรียนเมื่อเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอันดับสาม ได้แก่ สื่อประสมที่ใช้ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ก่อให้เกิดประสิทธิผลด้านการเรียนรู้ และประสิทธิผลด้านความรู้ของนักเรียนเมื่อเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศและกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเพิ่มขึ้น สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้สามารถแก้ปัญหาด้านเอกสาร หลักสูตร คู่มือครูที่ขาดแคลนได้
2) ด้านผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนของโรงเรียนได้ รองลงมา ได้แก่ สื่อประสมที่ใช้ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนี้ก่อให้เกิดประสิทธิผลด้านการเรียนรู้ และประสิทธิผลด้านความรู้ของนักเรียนเมื่อเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดอันดับสาม ได้แก่ ประสิทธิผลด้านความรู้ของนักเรียนเมื่อเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนที่ส่งผลให้นักเรียนมีความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้
5. การประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 พบว่า
1) ผลการทดสอบผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 พบว่า มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 5 กลุ่มสาระเพิ่มขึ้น กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดอันดับสาม ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดคือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2) ผลการทดสอบผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 เปรียบเทียบกับระดับจังหวัด ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับประเทศ พบว่า คะแนนเฉลี่ยร้อยละของโรงเรียน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.22 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของจังหวัด 40.85 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 41.42 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 43.19 เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระ พบว่า
กลุ่มสาระภาษาไทยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 65.58 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับจังหวัด 53.67 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51.88 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 52.98
กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 50.42 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับจังหวัด 28.70 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 31.11 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 34.59
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.33 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับจังหวัด 37.05 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 38.76 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 40.47
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.92 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับจังหวัด
39.28 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 40.27 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 41.22
กลุ่มสาระภาษาอังกฤษคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.83 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับจังหวัด 29.32 และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 31.11และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 34.59
สรุป จากผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนบ้านโคกหล่าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 ปีการศึกษา 2559 โดยได้ประยุกต์ใช้การประเมินตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนั้น การดำเนินโครงการนี้จึงบรรลุตามจุดมุ่งหมายของโครงการตามที่ตั้งไว้