บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 และ 8) เพื่อประเมิน การถ่ายโยงความรู้ของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเทศบาล 3 ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 414 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหาร และครูโรงเรียนเทศบาล 3 ที่ปฏิบัติการสอนใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 31 คน 2) คณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 15 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 117 คน และ 4) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 จำนวน 117 คน ดำเนินการประเมินในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 15 ธันวาคม 2560 โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model (มาเรียม นิลพันธุ์. 2553 : 31-32) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการประเมิน พบว่า ภาพรวมของโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนเทศบาล 3 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
1. ด้านบริบท มีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการและกระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้กับสภาพปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมในด้าน คือ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการดำเนินงานของโครงการ ในด้านบุคลากร ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองและนักเรียน งบประมาณ วัสดุ-อุปกรณ์ และสถานที่ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ ผู้บริหารสามารถวางแผนโครงการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
อย่างมีประสิทธิภาพ มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การติดตามและการนิเทศการดำเนินงาน
อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
5. ด้านผลกระทบ มีการได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ด้านประสิทธิผล นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและมั่นใจในองค์ความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด
7. ด้านความยั่งยืน นักเรียนสามารถนำกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา
ในชีวิตอยู่ในระดับมาก
8. ด้านการถ่ายโยงความรู้ ผู้บริหารและครูสามารถนำความรู้จากโครงการไปใช้ประโยชน์และถ่ายทอดเป็นแบบอย่างให้แก่สถานศึกษาอื่นได้อยู่ในระดับมากที่สุด