ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
(5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาวขวัญปรียา โพธิรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนบ้านห้วยไผ่โนนคำมี อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้จำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มขึ้นไป 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านห้วยไผ่โนนคำมี อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 เรื่องย่อย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 24 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ผลการทดสอบก่อนและหลังเรียน และค่าความคงทนในการเรียนรู้ ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (%) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t (Dependent t test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
(5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า โดยภาพรวมทั้ง 4 ชุด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.98/87.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 จำแนกตามจำนวน 4 ชุด มีประสิทธิภาพ ดังนี้ ชุดที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.84/89.52 ชุดที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.73/88.57 ชุดที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.14/86.67 ชุดที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.37/87.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 ทั้ง 4 ชุด
2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของผู้เรียนจำนวน 21 คน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผู้เรียนทั้งชั้นได้คะแนนเฉลี่ย 34.81 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.02 มีผู้เรียนผ่านเกณฑ์ 21 คน ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีจำนวนผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดมีคะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เท่ากับ 0.8149 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 81.49
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 4 ชุด เมื่อพิจารณาโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( x̄= 4.73 . S.D. = 0.43)
โดยสรุป การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ ชุดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) มีประสิทธิภาพต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น ผู้เรียนมีความก้าวหน้า
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และผู้เรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด