ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559
ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้รานงาน นายวัชรินทร์ อินทรปัญญา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน
จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของการพัฒนา
การจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Daniel Stufflebeam กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 48 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 53 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน ครูผู้สอน จำนวน 33 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนชุมชนดูนสาด จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 250 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านบริบท ตามระดับผลการประเมินของครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านปัจจัย ตามระดับผลการประเมินของครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านกระบวนการ ตามระดับผลการประเมินของครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 แบบประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านผลผลิต และความพึงพอใจตามความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 สรุปผลการประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการ ด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
ที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการนี้สามารถสนองความต้องการของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรในการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินโครงการ ด้านปัจจัย พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ แหล่งเรียนรู้ภายในเพียงพอต่อการสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ งบประมาณในการสนับสนุนเพียงพอต่อการจัด การเรียนการสอนวิชาในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินโครงการ ด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การบริหารงานทั่วไป อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การบริหารงานงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริหารงานบุคคล อยู่ในระดับมาก
3.1 ผลการประเมินโครงการ ด้านกระบวนการ (การบริหารงานวิชาการ) พบว่า โดย
ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ส่งเสริม และสนับสนุนงานวิชาการ โดยให้ความรู้ที่มีประโยชน์แก่ผู้ปกครอง และชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูพัฒนาแหล่งการเรียนทั้งในสถาน ศึกษาและชุมชน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการประเมินโครงการ ด้านกระบวนการ (การบริหารงานงบประมาณ) พบว่า
โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานศึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อจัดสรรงบประมาณ โดยขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ จัดทำระบบการบริหารการเงิน เป็นไปตามขั้นตอนของกระทรวง การคลังและเปิดเผยต่อชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการติดตามผล ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผลการใช้เงิน และผลการดำเนินงานให้ผู้ปกครองและชุมชนรับทราบทุกภาคเรียน อยู่ในระดับมาก
3.3 ผลการประเมินโครงการ ด้านกระบวนการ (การบริหารงานบุคคล) พบว่า โดย
ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีบทลงโทษแก่ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาที่ทำผิดกฎและระเบียบวินัย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ดำเนินการสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนาการศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ส่งเสริมการมีวินัยและการรักษาวินัยของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชน อยู่ในระดับมาก
3.4 ผลการประเมินโครงการ ด้านกระบวนการ (การบริหารงานทั่วไป) พบว่า โดย
ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า รายการที่ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ส่งเสริม และประสานงานให้มีการจัดการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัย อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีระบบการบริหารงานธุรการที่ทันสมัย โดยยึดหลักความถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัด และคุ้มค่า อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ สนับสนุน ส่งเสริมให้ครูนำเทคโนโลยีและระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตที่เกิดกับคุณภาพของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ความต้องการศึกษาต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ความต้องการศึกษาต่อในสถานศึกษาเดิมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงาน อยู่ในระดับมาก
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตที่เกิดกับความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า การสนับสนุนจากบุคคล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้รับการยอมรับจากเพื่อนนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่มีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การให้ความร่วมมือของครู ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก
ผลการประเมินด้านผลผลิตที่เกิดกับความต้องการศึกษาต่อในสถานศึกษาเดิมของนักเรียน ตาม
ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 101 คน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความต้องการศึกษาต่อในสถานศึกษาเดิม จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 85.42 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความต้องการศึกษาต่อในสถานศึกษาเดิม จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 56.60
สรุปผลการประเมินโครงการการพัฒนาการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนชุมชนดูนสาด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนดทุกด้าน