ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้รายงาน นางสาวกิรณา ผ่องผิวกาย
ปีที่รายงาน 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีวัคถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตผลผลิตเกี่ยวกับผลสำเร็จของโครงการและเกี่ยวกับความพึงพอใจขอนักเรียน ครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กลุ่มเป้าหมาย ในการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ประกอบด้วย นักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 คน และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน รวม 63 คน ครู ศึกษาจากประชากร จำนวน 12 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีจำนวน 5 ฉบับ ซึ่งผู้รายงานได้พัฒนาปรับปรุงโดยยึดรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งได้ศึกษาแนวคิดและจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .902 -.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 14 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.57, S.D.= 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.64, S.D.= 0.50 ) อยู่ ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 14 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62, S.D.= 0.52 ) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 14 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.41,  = 0.64) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.31,  = 0.67)อยู่ ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.50,  = 0.61)อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมด้านกระบวนการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายการการประเมิน พบว่า รายการที่ 5 จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน รายการที่ 4 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบงานฝ่ายต่างๆ ของโครงการ รายการที่ 7 มีเครื่องมือประเมินผลโครงการถูกต้องชัดเจน รายการที่ 3 บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนโครงการ และรายการที่ 6 ดำเนินงานตามขั้นตอนของกิจกรรมในโครงการที่วางแผนไว้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายการที่ 9 มีการประเมินผลโครงการ รายการที่ 11รายงานผลการประเมินโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ รายการที่ 1 มีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ รายการที่ 10 นำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง รายการที่ 8 มีการควบคุม กำกับติดตาม และนิเทศการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และรายการที่ 2 มีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน สรุปได้ว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และผลการประเมินรายการผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกรายการ
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.33 , S.D.= 0.62) อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.38, S.D.= 0.51)ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.34, S.D.= 0.59) อยู่ ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.32, S.D.= 0.76) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ สรุปได้ดังนี้
5.1. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสำเร็จของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.65, S.D.= 0.46) อยู่ในระดับมาก ที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.76, S.D.= 0.42 ) อยู่ ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, S.D.= 0.50 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 12 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
5.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอ งนักเรียน จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่าทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 16 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ( = 4.71, S.D.= 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.79, S.D.= 0.44) อยู่ ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 16 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ครูมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.68, S.D.= 0.45) อยู่ ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 16 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.80, S.D.= 0.40 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 16 ผ่านเกณฑ์การประเมินและ ผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59, S.D.= 0.52 ) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 16 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
จากการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในครั้งนี้ผู้ประเมินได้นำรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model มาเป็นแนวคิดหลักการประเมินโครงการอย่างมีระบบ มีกระบวนการ รวมทั้งการใช้ผลจากประเมินข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้องรวมทั้งคุณค่าของการประเมินผลทางการศึกษา อีกทั้งเป็นการประเมินที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของรูปแบบการประเมินคือ ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ว่ามีความพร้อมความเหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดจุดประสงค์ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เพียงพอ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด สำหรับตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลในการกำหนดโครงสร้างของแผนงาน และ ขั้นตอนของการดำเนินงาน ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เพื่อพิจารณาควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และปรับปรุงแกไขให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อพิจารณาการยุติ/ล้มเลิก หรือขยายโครงการที่จะนำไปใช้ในโอกาสต่อไป ผลจากการประเมินโครงการทำให้ทราบว่าโครงการส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะด้านอาชีพ ทักษะการทำงานร่วมกันทำให้นักเรียนสามารถวางแผนการทำงาน ปฏิบัติตามแผนงาน กำกับติดตามงาน และประเมินผลและปรับปรุงงานได้ ส่งผลให้นักเรียนมีมีทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น รวมทั้งผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด จึงทำให้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนาแก้ว ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการทุกประการ