บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดดอนขี้เหล็ก (กฤษณาประชาสรรค์)
ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ครั้งนี้ใช้รูปแบบ
การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยการประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ผู้ประเมินได้ทำการประเมินเพิ่มเติมในด้านความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 4 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6
จำนวน 15 คนรวมทั้งสิ้น 40 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) โครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดดอนขี้เหล็ก (กฤษณาประชาสรรค์) พบว่า มีความเหมาะสมกับบริบท ซึ่งประกอบด้วย ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ มีความสัมพันธ์สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการดำเนินการของโครงการ และการประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) พบว่า มีความเพียงพอต่อการดำเนินโครงการในระดับมาก ทั้งครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ และความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการ ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) จากการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผลเกิดขึ้นกับนักเรียนอยู่ในระดับมาก ทำให้นักเรียน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมีจิตอาสา ทำให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนและชุมชน ซึ่งเป็นไปตามจุดประสงค์ของโครงการ
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีกิจกรรมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก