แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เวลา 20 ชั่วโมง
เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เวลา 2 ชั่วโมง
วันที่สอน......... เดือน ............................ พ.ศ. ............. ครูผู้สอน นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ

สาระสำคัญ
พันธุกรรม (heredity) คือ สิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ และสิ่งที่ถ่ายทอดส่งต่อ จากรุ่นหนึ่ง ไปยังอีกรุ่นหนึ่ง พันธุกรรมจะถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะที่เรียกว่ายีนยีนจะมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในเซลล์ทุกเซลล์และจัดเรียงตัวเป็นแถวเป็นกลุ่มจับตัวเป็นเส้นยาว เรียกว่า โครโมโซมลักษณะที่แสดงออก และถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป แบ่งเป็นประเภทคือ ลักษณะทางคุณภาพ และลักษณะทางปริมาณลักษณะทางคุณภาพเป็นลักษณะที่ควบคุมโดย ยีนน้อยคู่ เช่น ลักษณะสีของขนลักษณะมีเขาหรือไม่มีเขา และลักษณะผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะทางปริมาณ เป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนหลายคู่ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจ เช่น ส่วนประกอบในน้ำนม ลักษณะปรากฏถูกกำหนดโดย อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและมีภาพแวดล้อม
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัดชั้นปี
ว 1.1 ป.5/1 สังเกตและระบุส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก
ว 1.1 ป.5/2 อธิบายการสืบพันธุ์ของพืชดอก การขยายพันธุ์พืช และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 1.1 ป.5/3 อธิบายวัฏจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิด
ว 1.1 ป.5/4 อธิบายการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของสัตว์
ว 1.1 ป.5/5 อภิปรายวัฏจักรชีวิตของสัตว์บางชนิด และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะ หาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ตัวชี้วัด
ว 8.1 ป.5/1 ตั้งคำถาม เกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษา ตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
ว 8.1 ป.5/2 วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ป.5/3 เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
ว 8.1 ป.5/4 บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพและตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป
ว 8.1 ป.5/5 สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
ว 8.1 ป.5/6 แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
ว 8.1 ป.5/7 บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริงมีการอ้างอิง
ว 8.1 ป.5/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจาหรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถอธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ถูกต้อง (K) (K)
2. สามารถบอกรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ (K)
3. ทำกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียนได้ถูกต้อง (K)
4. อธิบายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ (P)
5. เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ชื่นชอบ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางการเรียน (A)
สาระการเรียนรู้
1. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สมรรถนะของผู้เรียน
1. ความสามารถในการคิด
2. ความสามารถในการสื่อสาร
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีความซื่อสัตย์และเสียสละ
2. มีระเบียบวินัยและเรียบร้อย
3. มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และตั้งใจ
4. มีความรับผิดชอบทำงานเสร็จทันเวลา
ชิ้นงาน/ภาระงาน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1-2
กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ขั้นสำรวจความรู้เดิม (Elicitation Phase)
ครูนำรูปภาพของคนในครอบครัว ภาพของครอบครัวแมวและสุนัขให้นักเรียนดู โดยย้ำว่านักเรียนจะต้องสัเกตให้ละเอียดว่าในภาพมีสิ่งใดอยู่บ้าง แล้วถามคำถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อหาคำตอบดังนี้
- ภาพของคนในครอบครัว มีสิ่งใดที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง สิ่งที่เหมือนกันมีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่ต่างกันมีลักษณะอย่างไร
- ภาพของครอบครัวแมว และสุนัข มีสิ่งใดที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง สิ่งที่เหมือนกันมีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่ต่างกันมีลักษณะอย่างไร
- เหตุใดสมาชิกใครอบครัวจึงมีลักษณะบางอย่างเหมือนหรือแตกต่างกัน
2. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement Phase)
- ครูชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ชุดที่ 1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
- ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน ก่อนการเรียนรู้
- ครูชักชวนให้นักเรียนตั้งประเด็นปัญหา ข้อควรศึกษาเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมเสนอประเด็นปัญหาอย่างหลากหลาย ครูและนักเรียนช่วยกันเรียบเรียงถ้อยคำสำนวนให้สละสลวย เพื่อตั้งประเด็นปัญหาซึ่งควรได้ว่า (การถ่ายทอดพันธุกรรมคืออะไร มีลักษณะอย่างไร)
3. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration Phase)
- ครูให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คละเพศและความสามารถ
- ตัวแทนของนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมารับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ชุดที่ 1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาและ ในระหว่างศึกษาครูจะคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
- ครูใช้สถานการณ์ในห้องเรียนเพื่อให้นักเรียนร่วมกันสำรวจบอกถึงกระบวนได้มา ซึ่ง ความหมายของพันธุกรรมและลักษณะของพันธุกรรม
4. ขั้นอธิบายและสรุป (Explanation Phase)
- ครูอธิบายเกี่ยวกับพันธุกรรมว่าคืออะไร มีลักษณะอย่างไร โดยให้นักเรียนร่วมกันอธิบายถึงลักษณะทางพันธุกรรม ที่ได้ศึกษาในชุดกิจกรรมการเรียนรู้
5. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration Phase)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมระดมสมอง และสร้างจินตนาการเกี่ยวกับพันธุกรรมตามที่นักเรียนเข้าใจ และเขียนผังมโนทัศน์
- ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรม โดยให้อธิบายตามความเข้าใจว่ามีความเป็นมาอย่างไร
6. ขั้นประเมิน (Evaluation Phase)
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
- นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน หลังการเรียนรู้
7. ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extension Phase)
ครูให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อให้เพื่อนักเรียนทุกระดับชั้นได้ทราบถึงลักษณะทางพัรธุกรรมที่ปรากฏกับตัวเองซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และได้รับความรู้เพื่อให้สามารถทราบลักษณะเด่น ลักษณะด้อยของตนเองและสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนอธิบายความหมายและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยครูสุ่มถามเป็นรายกลุ่ม
สื่อการเรียนรู้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ชุดที่ 1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
2. รูปภาพประกอบการสอน เกี่ยวกับ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การวัดผลและประเมินผล
วิธีการวัดผลและประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
2. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. ประเมินด้านทักษะ / กระบวนการ
4. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
5. ตรวจกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 และกิจกรรมที่ 2
เครื่องมือ
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
2. ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3. ประเมินด้านทักษะ / กระบวนการ
4. ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1และกิจกรรมที่ 2
เกณฑ์การประเมิน
1. การสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2
2. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2
3. การประเมินด้านทักษะ / กระบวนการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4. แบบทดสอบก่อนเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
5. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1และกิจกรรมที่ 2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
ลงชื่อ ผู้อำนวยการสถานศึกษา
(นายกิตติ รัษฎาวงศ์)
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
ผลการจัดการเรียนการสอน
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แนวทางแก้ไข
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................
ลงชื่อ ผู้สอน
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
1. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
เกณฑ์การให้คะแนนพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
พฤติกรรม เกณฑ์การให้ระดับคะแนน
3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
1. การแสดงความคิดเห็น ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง
2. การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง
3. การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง
4. ความมีน้ำใจ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง
5. การตรงต่อเวลา ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง
เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ
คะแนน 12 15 คะแนนระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี
คะแนน 8 11 คะแนนระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้
คะแนน 1 7 คะแนนระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่านการประเมิน ได้ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป
แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เลขที่ ชื่อ สกุล การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความมีน้ำใจ การตรงต่อเวลา รวม (๑๕ คะแนน) ระดับคะแนน สรุปผล
ผ่าน ไม่ผ่าน
3 3 3 3 3 15 3
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
ลงชื่อ ผู้บันทึก
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
2. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เกณฑ์การให้คะแนนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
พฤติกรรม เกณฑ์การให้ระดับคะแนน
3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
เป็นตัวอย่างที่ดีในการเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดอง และเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดอง และเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดอง และเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน
2. ซื่อสัตย์ สุจริต
ไม่นำสิ่งของและผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนด้านความซื่อสัตย์ ไม่นำสิ่งของและผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง
ไม่นำสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง
3. มีวินัย
ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันและรับผิดชอบในการทำงานได้ด้วยตนเอง ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวัน แต่ต้องมีการเตือนเป็นบางครั้ง ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัวและโรงเรียน ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ประจำวัน แต่ต้องมีการเตือนเป็นส่วนใหญ่
พฤติกรรม เกณฑ์การให้ระดับคะแนน
3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
4. ใฝ่เรียนรู้
ตั้งใจเรียน เอาใจใส่ และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นประจำ ตั้งใจเรียน เอาใจใส่ และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ บ่อยครั้ง
ตั้งใจเรียน เอาใจใส่ และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้ เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ บางครั้ง
5. อยู่อย่างพอเพียง
ใช้ทรัพย์สินของตนเองและทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า รอบคอบ เก็บรักษาดูแลอย่างดี ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่เอาเปรียบและทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ใช้ทรัพย์สินของตนเองและทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า เก็บรักษาดูแลอย่างดี ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ใช้ทรัพย์สินของตนเองและทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด และคุ้มค่า
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มีการปรับปรุงและพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นด้วยตนเอง ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ มีการปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น
ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
7. รักความเป็นไทย
ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทแบบไทย มีสัมมาคารวะเป็นประจำ ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทแบบไทย มีสัมมาคารวะบ่อยครั้ง ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทแบบไทย มีสัมมาคารวะบางครั้ง
8. มีจิตสาธารณะ
ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน อาสาทำงาน ช่วยคิด ช่วยทำ และแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน อาสาทำงาน และแบ่งปันสิ่งของให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูทำงาน อาสาทำงานให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
เกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ
คะแนน 19 24 คะแนนระดับคุณภาพ 4 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 13 18 คะแนนระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี
คะแนน 7 12 คะแนนระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้
คะแนน 1 6 คะแนนระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การผ่านการประเมิน ได้ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไป
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เลขที่ ชื่อ สกุล รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ รวม (๒๔ คะแนน) ระดับคะแนน สรุปผล
ผ่าน ไม่ผ่าน
3 3 3 3 3 3 3 3 24 4
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
ลงชื่อ ผู้บันทึก
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
3. แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินด้านทักษะกระบวนการ
ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน
3 2 1
1. ทักษะการสังเกต สรุปเนื้อหาได้กระชับใจความครบถ้วน สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้อง สรุปเนื้อหาได้กระชับใจความ สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สรุปเนื้อหาไม่กระชับและมีใจความไม่ครบ สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้น้อย
2. การอภิปราย สามารถพูดรายงานได้ดีพูดเสียงดังฟังชัด ได้สาระชัดเจน วางบุคลิกในการพูดได้ดีมาก สามารถพูดรายงานได้ดีพูดน้ำเสียงชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด วางบุคลิกในการพูดได้ดี สามารถพูดรายงานได้ดีพูดน้ำเสียงไม่ชัดเจน ไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด วางบุคลิกในการพูดไม่ค่อยดี
3. การปฏิบัติงานขั้นตอน มีทักษะการปฏิบัติงานตามขั้นตอน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้ตามลำดับ ไม่สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้
4. ความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์ดีมาก มีความคิดที่สร้างสรรค์ดี ขาดความคิดที่สร้างสรรค์
5.ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการทำใบงาน มีทักษะสามารถสร้างงานที่สวยงาม และมีความประณีตดี สามารถสร้างงานที่สวยงามพอใช้ได้ และมีความประณีตในบางส่วน ไม่มีความสวยงาม และไม่ประณีต
เกณฑ์การประเมิน ผู้ผ่านการประเมินต้องได้คะแนนรวมร้อยละ 80 ขึ้นไป
ผู้ผ่านการประเมินต้องได้คะแนน 12 คะแนน ขึ้นไป
แบบประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เลขที่
ชื่อ สกุล
ทักษะการสังเกต การอภิปราย การปฏิบัติงานตามขั้นตอน ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการทำใบงาน รวม สรุปผล
ผ่าน ไม่ผ่าน
3 3 3 3 3 15
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
ลงชื่อ ผู้บันทึก
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
4. แบบบันทึกคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน
แบบบันทึกคะแนนแบบทดสอบก่อนเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เลขที่ ชื่อ-สกุล ก่อนเรียน
(10 คะแนน) สรุปผล
ผ่าน ไม่ผ่าน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
ลงชื่อ ผู้บันทึก
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
5. แบบบันทึกคะแนนแบบฝึกหัด
แบบบันทึกคะแนนแบบฝึกหัด
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เลขที่ ชื่อ-สกุล คะแนน 10 คะแนน สรุปผล
แบบฝึกหัดที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 2 ผ่าน ไม่ผ่าน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
ลงชื่อ ผู้บันทึก
(นางสาวแวโรสณา เจ๊ะสมาแอ)
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องลักษณะทางพันธุกรรม
คำชี้แจง กา X คำตอบที่ถูกที่สุด
1.เราได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากใคร
ก. พ่อ แม่ ข. พี่น้อง ค. ลุง ป้า ง. น้า อา
2. หน่วยพันธุกรรมที่ใช้ถ่ายทอดลักษณะต่างๆ อยู่ในส่วนใด
ก. เม็ดเลือด ข. ยีน ค. ต่อมเหงื่อ ง. เซลล์ร่างกาย
3. นักวิทยาศาสตร์คนใดได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
ก. นิวตัน ข. วัตสัน ค. กาลิเลโอ ง. เมนเดล
4. ข้อใดกล่าวถึงกฎของเมนเดลได้ถูกต้อง
ก. ลักษณะต่างๆ ถูกควบคุมโดยสมองไม่เป็นอิสระต่อกัน
ข. การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะลักษณะเด่น
ค. ลักษณะที่ปรากฏน้อยครั้งเรียกว่า ด้อยเป็น 3:1 เสมอ
ง. สัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเป็น 3:1 เสมอ
5. ลักษณะด้อยจะปรากฏให้เห็นในรุ่นใด
ก. รุ่นพ่อแม่ ข. รุ่นพี่ ค. รุ่นลูก ง. รุ่นหลาน
6.ใครมีโอกาสห่อลิ้นได้เหมือนพ่อ
ก. แม่ ข. ลูก ค. น้า ง. ตา
การผสมพันธุ์ดอกกุหลาบสีแดงพันธุ์แท้กับ จากแผนภาพใช้ตอบคำถามข้อ 7-9
ดอกกุหลาบสีขาวพันธุ์แท้ได้ผลดังนี้ 7. ช่องหมายเลข 1 จะได้กุหลาบสีใด
รุ่นพ่อแม่ แดง x ขาว ก. สีแดง ข. สีขาว
รุ่นลูก 1 x แดง ค. สีชมพู ง. สีแดงและสีขาว
รุ่นหลาน แดง แดง แดง 2
8. ช่องหมายเลข 2 จะได้กุหลาบสีใด
ก. สีแดง ข. สีขาว ค. สีชมพู ง. สีแดงและสีขาว
9. การผสมพันธุ์ดอกกุหลาบนี้มีลักษณะด้อยเป็นอย่างไร
ก. ดอกกุหลาบสีแดง ข. ดอกกุหลาบสีขาว ค. ดอกสีอ่อนกว่าเดิม ง. ดอกสีเข้มกว่าเดิม
10. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ถ่ายทอด
ก. สีผิว ข. ติ่งหู ค. หูตึง ง. ลักยิ้ม
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องลักษณะทางพันธุกรรม
คำชี้แจง กา X คำตอบที่ถูกที่สุด
1.เราได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากใคร
ก. พ่อ แม่ ข. พี่น้อง ค. ลุง ป้า ง. น้า อา
2. หน่วยพันธุกรรมที่ใช้ถ่ายทอดลักษณะต่างๆ อยู่ในส่วนใด
ก. เม็ดเลือด ข. ยีน ค. ต่อมเหงื่อ ง. เซลล์ร่างกาย
3. นักวิทยาศาสตร์คนใดได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
ก. นิวตัน ข. วัตสัน ค. กาลิเลโอ ง. เมนเดล
4. ข้อใดกล่าวถึงกฎของเมนเดลได้ถูกต้อง
ก. ลักษณะต่างๆ ถูกควบคุมโดยสมองไม่เป็นอิสระต่อกัน
ข. การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะลักษณะเด่น
ค. ลักษณะที่ปรากฏน้อยครั้งเรียกว่า ด้อยเป็น 3:1 เสมอ
ง. สัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อยเป็น 3:1 เสมอ
5. ลักษณะด้อยจะปรากฏให้เห็นในรุ่นใด
ก. รุ่นพ่อแม่ ข. รุ่นพี่ ค. รุ่นลูก ง. รุ่นหลาน
6.ใครมีโอกาสห่อลิ้นได้เหมือนพ่อ
ก. แม่ ข. ลูก ค. น้า ง. ตา
การผสมพันธุ์ดอกกุหลาบสีแดงพันธุ์แท้กับ จากแผนภาพใช้ตอบคำถามข้อ 7-9
ดอกกุหลาบสีขาวพันธุ์แท้ได้ผลดังนี้ 7. ช่องหมายเลข 1 จะได้กุหลาบสีใด
รุ่นพ่อแม่ แดง x ขาว ก. สีแดง ข. สีขาว
รุ่นลูก 1 x แดง ค. สีชมพู ง. สีแดงและสีขาว
รุ่นหลาน แดง แดง แดง 2
8. ช่องหมายเลข 2 จะได้กุหลาบสีใด
ก. สีแดง ข. สีขาว ค. สีชมพู ง. สีแดงและสีขาว
9. การผสมพันธุ์ดอกกุหลาบนี้มีลักษณะด้อยเป็นอย่างไร
ก. ดอกกุหลาบสีแดง ข. ดอกกุหลาบสีขาว ค. ดอกสีอ่อนกว่าเดิม ง. ดอกสีเข้มกว่าเดิม
10. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ก. สีผิว ข. ติ่งหู ค. หูตึง ง. ลักยิ้ม