เรื่องที่ศึกษา : รายงานผลการพัฒนาชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ศึกษา : นิรุทธิ์ มากนาดอน
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องรายงานผลการพัฒนาชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสร้างและพัฒนาชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียงและศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 36 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 ชุด 2) แผนการเรียนรู้ประกอบการเรียนรู้เรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง จำนวน 27 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการหาค่าประสิทธิภาพของเครื่องมือ (E1/E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน ttest (Dependent Samples) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.97/84.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.6509 แสดงว่าชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.09
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนโดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( = 4.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียงสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชอบและมีความพึงพอใจต่อความรู้ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับความพึงพอใจมากเป็นอันดับแรก ส่วนอันดับรองลงมา คือ เป็นชุดการสอนที่เสริมสร้างทักษะการทำงาน และอันดับสาม คือ นักเรียนได้ทราบความก้าวหน้าและพอใจกับผลของคะแนนที่ได้จากการทำกิจกรรมจากชุดการสอน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียงต่ำสุด ได้แก่ ความเหมาะสมของปริมาณกิจกรรมปฏิบัติกับเวลาเรียน
ผลจากการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สาระเพิ่มเติม ง 21241 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไม่ว่าด้านประสิทธิภาพและคุณภาพของชุดการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา เป็นตัวบ่งชี้ ให้เห็นว่าชุดการสอนเรื่อง : ข้าว ธัญญาหารแห่งความพอเพียงที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม สามารถพัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนตามศักยภาพ ทั้งทักษะ และความรู้ของแต่ละบุคคลได้อย่างดียิ่ง สามารถนำความรู้และทักษะทางงานเกษตรที่ได้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นต่อไป