การประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส.โรงเรียน บ้านฉลุง ประยุกต์ใช้การประเมิน รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประกอบด้วย คุณภาพการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตามกลยุทธ์ 6อ. และ 2ส.โรงเรียนบ้านฉลุง การพัฒนาสภาวะสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านฉลุง ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ พฤติกรรมด้านสุขภาพของครูในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่างได้ คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส.โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 180 คน 2) ประชากรครู จำนวน 23 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คนและ 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือการประเมินที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน 8 ฉบับ มี 2 ลักษณะ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตั้งแต่ .80 - .89 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงจำนวน 2 ฉบับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส. โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความต้องการและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ และปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่การบริหารจัดการและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครองโดยประเมิน 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การติดตามประเมินผล และนำผลมาปรับปรุงพัฒนา ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 20 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส. โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 จำแนกดังนี้
4.1 ด้านคุณภาพของการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส. โรงเรียนบ้านฉลุง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ด้านสภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม สถิติการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของนักเรียน โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 ค่าร้อยละเฉลี่ยภาวะสุขภาพนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 91.52 มีคุณภาพอยู่ที่ระดับดีมาก ได้คะแนน 15 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ด้านพฤติกรรมสุขภาพของครู ในการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน อยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ด้านคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี และมีสุนทรียภาพ ปีการศึกษา 2559 มีค่าคะแนนอยู่ที่ระดับ 4.66 ระดับคุณภาพดีเยี่ยมได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ด้านความพึงพอใจในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส. โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินอยู่ที่ระดับมาก ได้คะแนน 10 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 6อ. และ 2ส. โรงเรียนบ้านฉลุง ปีการศึกษา 2559 โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผลการประเมินด้านบริบท ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าน้ำหนัก 10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านกระบวนการ ค่าน้ำหนัก 20 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินด้านผลผลิต ค่าน้ำหนักรวม 60 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 60 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินครอบคลุม 4 ด้าน ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน