ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะหน่วยการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางลัดดา นิสสัยดี
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านพลวง(พรหมบำรุงราษฎร์)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สุรินทร์ เขต 3
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะหน่วยการเรียนรู้เรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5 โรงเรียนบ้านพลวง(พรหมบำรุงราษฎร์) ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5 โรงเรียนบ้านพลวง(พรหมบำรุงราษฎร์) ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพลวง(พรหมบำรุงราษฎร์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบฝึกทักษะเรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน15 แบบฝึก 2)แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย,ร้อยละของค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน,ค่าดัชนีความสอดคล้อง,ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก, ค่าความเชื่อมั่น,ดัชนีประสิทธิผล,การหาค่าประสิทธิภาพของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และสถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1)ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะหน่วยการเรียนรู้เรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.37/88.69 สูงกว่าเกณฑ์ 75/ 75 ที่ตั้งไว้ 2)ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5833 แสดงว่า การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทำให้ผลการเรียนรู้ของนักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.33 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะเรื่องการบวก การลบ การคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62 คิดเป็นร้อยละ 89.22 อยู่ในเกณฑ์ พึงพอใจระดับมาก