การประเมินโครงการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ Daniel L. Stufflebeam ประกอบด้วยด้านประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาราษีระบือ จำนวน 8 คน ครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านแก่นเท่า จำนวน 7 คน และนักเรียน โรงเรียนบ้านแก่นเท่า จำนวน 26 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถามความคิดเห็น และประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำบรรยาย สรุป ผลการประเมินได้ดังนี้
ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาราษีระบือและครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในรายข้อพบว่า วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 เป้าหมายของโครงการมีความชัดเจนเป็นไปได้ที่จะประสบผลสำเร็จ ผู้บริหารและคณะครูมีความสามารถในการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆ ในโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมต่างๆสอคล้องและตรงความต้องการของโรงเรียน นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ วัตถุประสงค์สอดคล้องกับสภาพ แวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูผู้สอน โรงเรียนบ้านแก่นเท่า และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านแก่นเท่า ต่อด้านปัจจัยนำเข้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในรายข้อ พบว่า ครูและบุคลากรให้ความสำคัญและมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนมีความมุ่งมั่นในความสำเร็จของโครงการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้และความเข้าใจต่อโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และในรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่าต่อกระบวนการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในรายข้อ พบว่า มีการประชุมวางแผนการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วม มีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมชัดเจนและการดำเนินกิจกรรมรักสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานอย่างมีระบบและระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการติดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำงาน นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล ครูผู้รับผิดชอบนำผลการนิเทศมาปรับปรุงการดำเนินงานและการดำเนินกิจกรรมหน่วยสีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ผู้บริหารนิเทศ กำกับ และติดตามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินและในรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านผลผลิต ของโครงการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านแก่นเท่า
มีดังนี้ ด้านผลผลิต ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ครูผู้สอน ในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า ต่อผลผลิตของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในรายด้านพบว่า เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านประหยัดและออมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านความรับผิดชอบมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านตรงต่อเวลา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน และในรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่าของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูและนักเรียน มีดังนี้
ความพึงพอใจของครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า ที่มีต่อโครงการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า กิจกรรมหน่วยสีส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน กิจกรรมวันสำคัญส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน กิจกรรมออมทรัพย์ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนและนักเรียนมีการพัฒนาวินัยในตนเองด้านประหยัดและออม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมเด็กดีศรีแก่นเท่าส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน กิจกรรมประชาธิปไตยส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน การนิเทศ กำกับ และติดตามส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และนักเรียนมีการพัฒนาวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมรักสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนมีการพัฒนาวินัยในตนเองด้านตรงต่อเวลา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
ความพึงพอใจของนักเรียนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า ที่มีต่อโครงการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนในโรงเรียนบ้านแก่นเท่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ นักเรียนมีบัญชีออมทรัพย์ในการดำเนินกิจกรรมการออมและนักเรียนพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมรักสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นักเรียนพอใจการดำเนินกิจกรรมเด็กดีศรีแก่นเท่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจที่ได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมประชาธิปไตยและนักเรียนพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมวันสำคัญ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ นักเรียนมีความรับผิดชอบดำเนินกิจกรรมหน่วยสี มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ
จากการดำเนินโครงการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านแก่นเท่า ครั้งนี้ผู้ประเมินได้นำรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Mofdel มาเป็นแนวคิดหลักการประเมินโครงการอย่างมีระบบ มีกระบวนการ รวมทั้งการใช้ผลจากประเมินข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้องรวมทั้งคุณค่าของการประเมินผลทางการศึกษา อีกทั้งเป็นการประเมินที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของรูปแบบการประเมินคือ ประเมินบริบท (Context Evaluation) ว่ามีความพร้อมเหมาะสมการประเมินสภาพแวดล้อมที่ได้นำไปใช้ในการกำหนดจุดประสงค์ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) เหมาะสมเพียงพอมากน้อยเพียงใด ตัดสินใจที่ใช้ข้อมูลในการกำหนดโครงสร้างของแผนงาน และ ขั้นตอนของการดำเนินงาน ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เพื่อพิจารณาควบคุมการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และปรับปรุงแกไขให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อพิจารณาการยุติ/ล้มเลิก หรือขยายโครงการที่จะนำไปใช้ในโอกาสต่อไป ผลจากการประเมินโครงการทำให้ทราบว่าโครงการส่งผลให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา การประหยัดและออม สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลให้นักเรียนมีวินัยในตนเองสูงขึ้นและมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น รวมทั้งผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการทุกประการ