ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับ
ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง
จังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้รายงาน นางนันทนา ทิพยศักดิ์
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนบ้านดอนแก้ว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
ปีที่รายงาน 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด ที่เรียนในปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดอนแก้ว พุทธศักราช 2553 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 20 ชั่วโมง (ไม่รวมเวลาทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 2) แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 จำนวน 10 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.20/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.75806 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.80
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปได้ว่า แบบฝึกทักษะเรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 1,000 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นควบคู่กับแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์