บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นายพีรพงษ์ ใหญ่สิมา
ปีการศึกษา 2559
รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกดในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน ( Pre - test ) และหลังเรียน ( Post - test ) โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดละมุด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 14 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง( Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1 ) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 จำนวน 8 เล่ม 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 0.83 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.97 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด แบบแผนการทดลองที่ใช้คือ One Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบทางสถิติ t-test Dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.31/83.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำ ชุด หรรษามาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.61, S.D. = 0.54 )