ชื่องานวิจัย
แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนคลองมะขามเทศ
สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย
นายบรรเจิด ท้าวแพทย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียนคลองมะขามเทศ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาระดับการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ศึกษาสภาพปัญหาการ
บริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และแนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนคลองมะขามเทศ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ตามกรอบแนวคิดของอุทัย บุญประเสริฐ (2545:187-191),รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2556:183),สัมมา รธนิธย์ (2556:149-150), จามจุรี จำเมืองและคณะ (2558:9) จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน ด้านหลักการบริหารตนเองและด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูโรงเรียนคลองมะขามเทศ จำนวน 14 คน โดยทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ส่วนผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 150 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random) โดยใช้วิธีกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครจซี่และมอร์แกน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 179 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามระดับการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและ
สภาพปัญหาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนคลองมะขามเทศ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย(x̄ )และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1.ระดับการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนคลองมะขามเทศ สำนักงานเขต
ประเวศ กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ ในระดับมาก โดยเรียงคะแนนค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังต่อไปนี้ ด้านหลักการบริหารตนเอง รองลงมาคือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน ด้านหลักการกระจายอำนาจและด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
2.ปัญหาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนคลองมะขามเทศ ในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยจากเรียงลำดับปัญหาจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านหลักการบริหารตนเอง รองลงมาคือ ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ด้านหลักการกระจายอำนาจ ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลและด้านหลักการมีส่วนร่วม
3.แนวทางการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนคลองมะขามเทศ สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
3.1.ด้านหลักการกระจายอำนาจ ได้แก่ 1)โรงเรียนควรขออัตรากำลังด้านการบริหารการเงินและบัญชีให้ครบ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานด้านงบประมาณ โดยไม่ต้องรบกวนบุคลากรด้านการจัดการเรียนการสอน 2)ผู้บริหารสถานศึกษามีการวางแผน จัดทำแผนงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและบุคลากรในโรงเรียน 3)ผู้บริหารสถานศึกษา นิเทศ กำกับ ติดตามเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการเงินและบัญชีให้ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ เป็นไปตามแผนและปฏิทินปฏิบัติงานที่กำหนด และทันตามกำหนดของสำนักงบประมาณ 4)โรงเรียนจัดทำคำสั่ง และมอบหมายงานให้กับบุคลากรในโรงเรียนในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของโรงเรียน โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมโรงเรียนเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้มีอุปการคุณกับโรงเรียน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 5)โรงเรียนจัดอัตรากำลังในการจัดการเรียนการสอน โดยจัดให้บุคลากรสอนให้ตรงกับความสาขาการเรียนรู้ที่จบการศึกษา สาขาวิชาที่ถนัด และธรรมชาติวิชาที่ใกล้เคียงกัน 6)โรงเรียนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษาต่อ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.2.ด้านหลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ 1)โรงเรียนกำหนดการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด 2)โรงเรียนดำเนินการสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2547 3)การคัดเลือกคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละครั้ง ควรมีการนำเสนอข้อมูลผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกและมีการออกเสียงลงคะแนนของคณะกรรมการทุกคน 4)จัดให้มีประชุมชี้แจงระเบียบ แนวปฏิบัติ ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อการ สรรหาคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 5)โรงเรียนมีการจัดทำนโยบายทางการศึกษา วิสัยทัศน์ พันธกิจต่าง ๆ ของโรงเรียนต้องอยู่ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ 6)จัดให้มีการประชุมชี้แจงบุคลากรในสถานศึกษา ให้เข้าใจถึงความสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 7)บุคลากรของโรงเรียน มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญและมีความเข้าใจในแนวทางการ จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 8)สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ให้มากขึ้น มีการจัดประชุมพบปะให้มากขึ้น
3.3.ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้กับประชาชน ได้แก่1)โรงเรียนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน 2)โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมของชุมชนรอบโรงเรียน เพื่อนำข้อมูลมาบูรณาการในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 3)โรงเรียนจัดกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน มีการแสดงผลงานหรือการจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์อันดีกับชุมชน 4)โรงเรียนร่วมกับชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน จัดกิจกรรมระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาโรงเรียน5)โรงเรียนส่งเสริมและทำความเข้าใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 6)โรงเรียนนำเสนอข้อมูลการจัดกิจกรรมการต่าง ๆของโรงเรียน ผ่านทางการประชุมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.4.ด้านหลักการบริหารตนเอง ได้แก่ 1)โรงเรียนจัดประชุมร่วมกันวิเคราะห์เกณฑ์ในการการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ 2)โรงเรียนจัดทำเกณฑ์วัดผลประเมินผลและเกณฑ์การเทียบโอนพื้นฐานตามมาตรฐานหลักสูตรในรายวิชาที่ขอเทียบโอน 3)โรงเรียนมีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการทำงานของบุคลากรในโรงเรียน โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ร่วมกัน 4)โรงเรียนกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแก่บุคลากรตามโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียนอย่างเหมาะสม 5)โรงเรียนมีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในด้านต่าง ๆ 6)โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการในการนิเทศจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน 7)โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการ กำกับติดตามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน
3.5.ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ได้แก่ 1)โรงเรียนประชุมจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน แต่งตั้งคณะกรรมการในการวางแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ จัดลำดับความสำคัญของการดำเนินงานโครงการตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ กำกับติดตามการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณ 2)โรงเรียนจัดผู้รับผิดชอบดูแลอาคารสถานที่ ดูแลความปลอดภัยในทรัพย์สินของโรงเรียน 3)โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนผ่านแผ่นพับ หรือเว็บไซต์ของโรงเรียน 4)โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยให้ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนเข้ามาร่วมกิจกรรม 5)โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 6)ให้บุคลากรภายในสถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจเยี่ยม การดำเนิน การการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา 7)โรงเรียนมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน ทำการนิเทศการสอนภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 8)ผู้บริหารสถานศึกษา กำกับ ติดตาม การจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ