แผนการจัดประสบการณ์ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรหมบุรี
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เรื่อง วิธีการผลไม้แสนอร่อย(การจัดหมวดหมู่ ตามสี)
ใช้สอนสัปดาห์ที่ 2 วันจันทร์ที่.................................................... เวลา 30 นาที
_________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
ผลไม้ เป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะ ส่วนประกอบ และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายได้
จุดประสงค์
1. บอกชื่อผลไม้ที่รู้จักได้
2. จำแนกหมวดหมู่ ตามสี
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. ชื่อผลไม้
2. การจำแนกหมวดหมู่ ตามสี
ประสบการณ์สำคัญ
1. การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส
2. การฟังเรื่องราวนิทาน
3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
4. การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง
วิธีดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง ผลไม้ ทีละวรรค จนจบ
คำคล้องจอง ผลไม้
ผลไม้ของไทย ใครใครก็ชอบ ทั้งหวานทั้งกรอบ ชอบกันหนักหนา
ฝรั่งมังคุด ละมุดพุทรา อีกทั้งน้อยหน่า หนูจ๋าน่าทาน
ลำไยแตงโม ผลโตรสหวาน น่ารับประทาน หอมหวานชวนลอง
กล้วยหอมกล้วยไข่ มะไฟลองกอง อร่อยรับรอง ลองชิมดูซี
ทุเรียนเนื้อเหลือง มะเฟืองรสดี กินแล้วจะมี สิ่งดีมากมาย
ส้มโอผลใหญ่ ถูกใจเหลือหลาย หากินได้ง่าย มากมายไม่แพง
สตอเบอรี่ นั้นมีสีแดง ปลูกได้หลายแห่ง แหล่งใหญ่ภาคเหนือ
ผลไม้ของไทย กินได้ไม่เบื่อ ประโยชน์เหลือเฟือ เมื่อได้กินเอย
2. ครูและเด็กร่วมกันสนทนาด้วยคำถาม
- เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง
- ผลไม้อะไรที่มีสีเหลือง
- ผลไม้อะไรที่มีสีแดง
3. นำผลไม้มาให้เด็กๆดู(แตงโม, กล้วย, มะม่วง, สับปะรด, เงาะ, ชมพู่, ฟักทอง) แล้วสนทนาด้วยคำถาม
- เด็กๆเห็นผลไม้อะไรบ้าง
- (นำกล้วยกับสับปะรดมาให้เด็กดู)กล้วยกับสับปะรด มีอะไรที่เหมือนกัน
- (นำเงาะกับชมพู่มาให้เด็กดู)เงาะกับชมพู่ มีอะไรที่เหมือนกัน
- แตงโมมีสีอะไร
- เนื้อแตงโมมีสีอะไร
- ผลไม้อะไรบ้างมีสีเหมือนเนื้อแตงโม
- ผลของฟักทองมีสีอะไร
- ผลไม้อะไรบ้างมีสีเหมือนฟักทอง
4. เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงชื่อและสีของดอกไม้
5. ให้เด็ก ๆ ทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (สี)
สื่อ
1. คำคล้องจอง ผลไม้
2. แตงโม, กล้วย, มะม่วง, สับปะรด, เงาะ, ชมพู่, ฟักทอง
3. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (สี)
การประเมิน
วิธีการ
1. สังเกต
- การร่วมกิจกรรม
- การสนทนาและตอบคำถาม
2. ตรวจผลงาน
- การทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (สี)
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกการสังเกต
2. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (สี)
แผนการจัดประสบการณ์ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรหมบุรี
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เรื่อง ลักษณะของผลไม้ชนิดต่างๆ (การจัดหมวดหมู่ ลักษณะผล)
ใช้สอนสัปดาห์ที่ 2 วันอังคารที่.................................................... เวลา 30 นาที
_________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
ผลไม้ เป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะ ส่วนประกอบ และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายได้
จุดประสงค์
1. บอก ลักษณะของผลไม้ชนิดต่างๆ ได้
2. จัดหมวดหมู่ ลักษณะผลได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. ลักษณะของผลไม้ชนิดต่างๆ
2. จัดหมวดหมู่ ลักษณะผล
ประสบการณ์สำคัญ
1. การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส และชิมรส
2. การฟังเรื่องและท่องคำคล้องจอง
3. การเรียงลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ
วิธีดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง ผลไม้ ทีละวรรค จนจบ
คำคล้องจอง ผลไม้
ผลไม้ของไทย ใครใครก็ชอบ ทั้งหวานทั้งกรอบ ชอบกันหนักหนา
ฝรั่งมังคุด ละมุดพุทรา อีกทั้งน้อยหน่า หนูจ๋าน่าทาน
ลำไยแตงโม ผลโตรสหวาน น่ารับประทาน หอมหวานชวนลอง
กล้วยหอมกล้วยไข่ มะไฟลองกอง อร่อยรับรอง ลองชิมดูซี
ทุเรียนเนื้อเหลือง มะเฟืองรสดี กินแล้วจะมี สิ่งดีมากมาย
ส้มโอผลใหญ่ ถูกใจเหลือหลาย หากินได้ง่าย มากมายไม่แพง
สตอเบอรี่ นั้นมีสีแดง ปลูกได้หลายแห่ง แหล่งใหญ่ภาคเหนือ
ผลไม้ของไทย กินได้ไม่เบื่อ ประโยชน์เหลือเฟือ เมื่อได้กินเอย
2. ครูเล่นปริศนาคำทาย อะไรเอ่ย ?
เปลือกนอกมีขน ผลแดงพวงใหญ่
เนื้อขาวใสใส ข้างในมีเม็ด (เงาะ)
2. ครูนำเงาะมาให้เด็ก ๆ ดูแล้วสนทนาถึงรูปร่างลักษณะ โดยใช้คำถาม ดังนี้
- มีเปลือกสีอะไร (แดง)
- ลักษณะเปลือกเป็นอย่างไร (มีขน, แข็ง)
- ถ้าจะรับประทานเงาะ จะทำอย่างไร (เอาเปลือกออก แกะออก แงะออก)
3. ครูสาธิตพร้อมกับอธิบายวิธีรับประทานให้เด็กดู โดยเริ่มจากใช้มีดควั่นเปลือกโดยรอบ (ใส่จานไว้) จากนั้นให้บิ / แงะ เปลือกออก แล้วรับประทานได้ ข้างในมีเมล็ดขนาดใหญ่
ต้องปลิ้นเอาออก
4. ครูแจกเงาะที่ควั่นเปลือกแล้วให้เด็กคนละ 1 ลูก ให้เด็กทดลองบิ / แงะเปลือกออก แล้วรับประทานพร้อมกันว่ามีรสชาดอย่างไร
5. ครูนำกล้วยน้ำว้าสุก 1 หวี ให้เด็กดู แล้วสนทนากับเด็ก โดยใช้คำถามดังนี้
- ผลไม้ชนิดนี้เรียกว่าอะไร (กล้วย)
- มีเปลือกสีอะไร (เหลือง)
- ถ้าจะรับประทานต้องทำอย่างไร (ปอกเปลือก)
6. ครูแจกกล้วยให้เด็กคนละลูก ครูสาธิตการปอกให้เด็กดูแล้วให้ทำตาม เสร็จแล้วรับประทานพร้อมกัน ครูซักถามรสชาดของกล้วย (หวาน อร่อย)
7. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 6 คน ครูยกตะกร้าผลไม้ให้กลุ่มละ 1 ตะกร้า ภายในตะกร้าประกอบด้วยผลไม้ มะม่วง ลองกอง สละ เงาะ แก้วมังกร มะขาม และน้อยหน่า อย่างละ 1 ผล ให้เด็กช่วยกันคัดแยกผลไม้เป็นกอง ๆ ตามลักษณะของพื้นผิวเปลือก ผลไม้ชนิดใดมีพื้นผิวเปลือกเรียบเหมือนกันให้นำไปรวมไว้กองเดียวกัน ชนิดใดมีผิวขรุขระเหมือนกัน ให้รวมไว้กองเดียวกัน กลุ่มใดทำเสร็จแล้วให้ยกมือขึ้น
8. ครูและเด็กร่วมกันสรุปว่า การคัดแยกผลไม้เป็นกอง ๆ ตามลักษณะพื้นผิวนั้น เราเรียกว่าการจัดหมวดหมู่ ซึ่งเด็ก ๆ สามารถจัดในลักษณะอื่น ๆ ได้อีก เช่น ลักษณะของสีเปลือก ลักษณะของรูปร่าง/รูปทรง เป็นต้น
8. ให้เด็ก ๆ ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
สื่อ
1. คำคล้องจอง ผลไม้
2. ปริศนาคำทาย
3. เงาะ กล้วย
4. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
การประเมิน
วิธีการ
1. สังเกต
- การร่วมกิจกรรม
- การสนทนาและตอบคำถาม
2. ตรวจผลงาน
- การทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกการสังเกต
2. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
แผนการจัดประสบการณ์ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรหมบุรี
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เรื่อง เรียนรู้ส่วนต่างๆของผลไม้(การจัดหมวดหมู่ ลักษณะวงกลม)
ใช้สอนสัปดาห์ที่ 2 วันพุธที่.................................................... เวลา 30 นาที
_________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
ผลไม้ เป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะ ส่วนประกอบ และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายได้
จุดประสงค์
1. บอกเรียนรู้ส่วนต่างๆของผลไม้ได้
2. จัดหมวดหมู่ ลักษณะวงกลมได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. ส่วนต่างๆของผลไม้
2. จัดหมวดหมู่ ลักษณะวงกลม
ประสบการณ์สำคัญ
1. การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส และชิมรส
2. การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับปริศนาคำทาย
3. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
4. การจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ
วิธีดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง ผลไม้ ทีละวรรค จนจบ
คำคล้องจอง ผลไม้
ผลไม้ของไทย ใครใครก็ชอบ ทั้งหวานทั้งกรอบ ชอบกันหนักหนา
ฝรั่งมังคุด ละมุดพุทรา อีกทั้งน้อยหน่า หนูจ๋าน่าทาน
ลำไยแตงโม ผลโตรสหวาน น่ารับประทาน หอมหวานชวนลอง
กล้วยหอมกล้วยไข่ มะไฟลองกอง อร่อยรับรอง ลองชิมดูซี
ทุเรียนเนื้อเหลือง มะเฟืองรสดี กินแล้วจะมี สิ่งดีมากมาย
ส้มโอผลใหญ่ ถูกใจเหลือหลาย หากินได้ง่าย มากมายไม่แพง
สตอเบอรี่ นั้นมีสีแดง ปลูกได้หลายแห่ง แหล่งใหญ่ภาคเหนือ
ผลไม้ของไทย กินได้ไม่เบื่อ ประโยชน์เหลือเฟือ เมื่อได้กินเอย
2. ครูนำแตงโม มะละกอ มาให้เด็ก ๆ ดูแล้วสนทนาถึงรูปร่างลักษณะ โดยใช้คำถาม ดังนี้
- แตงโมมีลักษณะอย่างไร
- มะละกอมีลักษณะอย่างไร
- แตงโมกับมะละกอเหมือนกันอย่างไร
- แตงโมกับมะละกอต่างกันอย่างไร
- ถ้าจะรับประทานแตงโม จะทำอย่างไร (เอาเปลือกออก แกะออก แงะออก)
- ผลไม้อะไรมีลักษณะทรงกลมเหมือนลูกบอล
- ผลไม้อะไรมีลักษณะทรงรีเหมือนลูกโป่ง
2. สาธิตการผ่าแตงโมให้เด็กดู โดย มาผ่า 3 ลักษณะ คือ ตัดขวางตรง ตัดตามยาว
และตัดเฉียง เพื่อให้เด็กสังเกตส่วนประกอบผลไม้แต่ละชนิดในลักษณะต่างกัน แล้วสนทนาโดยใช้คำถาม
- มีผลไม้ชนิดใดบ้างที่เด็กๆใช้มือปอกเปลือกได้
- เนื้อของส้มกับมะละกอต่างกันอย่างไร
- เมล็ดของส้มหรือมะละกอต่างกันอย่างไร
- ให้บอกชื่อของผลไม้ที่มีเปลือกขรุขระ
- ส่วนต่างๆของผลแตงโมมีอะไรบ้าง
3. ให้อาสาสมัคร 2-3 คน ออกมาช่วยกันต่อชิ้นส่วนของผลไม้ที่ผ่าออกทั้ง 3 ลักษณะให้
สมบูรณ์
4. เด็กและครูร่วมกันสรุปลักษณะของผลไม้ว่า บางชนิดผลมีลักษณะทรงกลม บางชนิดมี
ลักษณะผลยาวเป็นวงรี
5. ให้เด็ก ๆ ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ชุดฝึกที่ 6 มาตรฐานจัดหมวดหมู่ ชุดฝึกย่อยที่ 6.1 เรื่อง การจัดหมวดหมู่ตามลักษณะของพื้นผิว
สื่อ
1. ปริศนาคำทาย
2. เงาะ, กล้วยน้ำว้าสุก อย่างละ 14 ผล
3. มีดปอกผลไม้ 1 เล่ม จาน 2 ใบ
4. ตะกร้าผลไม้ 2 ใบ ในตะกร้ามีผลไม้อย่างละ 1 ผล ได้แก่ มะม่วง มะขาม สละ แก้วมังกร เงาะ ลองกอง และน้อยหน่า
5. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
การประเมิน
วิธีการ
1. สังเกต
- การร่วมกิจกรรม
- การสนทนาและตอบคำถาม
2. ตรวจผลงาน
- การทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกการสังเกต
2. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจัดหมวดหมู่ (ลักษณะผล)
แผนการจัดประสบการณ์ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรหมบุรี
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เรื่อง ประโยชน์และโทษของผลไม้(การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง วงรี)
ใช้สอนสัปดาห์ที่ 2 วันพฤหัสที่.................................................... เวลา 30 นาที
_________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
ผลไม้ เป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะ ส่วนประกอบ และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายได้
จุดประสงค์
1. บอกประโยชน์และโทษของผลไม้ได้
2. จำแนก เปรียบเทียบรูปทรง วงรีได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. ประโยชน์และโทษของผลไม้
2. การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง วงรี
ประสบการณ์สำคัญ
1. การปฏิบัติตามหลักศาสนาที่นับถือ
2. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
3. การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส
4. การฟัง/ท่องคำคล้องจอง
5. การเรียงลำดับขนาดสิ่งต่าง ๆ
วิธีดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง ผลไม้ ทีละวรรค จนจบ
คำคล้องจอง ผลไม้
ผลไม้ของไทย ใครใครก็ชอบ ทั้งหวานทั้งกรอบ ชอบกันหนักหนา
ฝรั่งมังคุด ละมุดพุทรา อีกทั้งน้อยหน่า หนูจ๋าน่าทาน
ลำไยแตงโม ผลโตรสหวาน น่ารับประทาน หอมหวานชวนลอง
กล้วยหอมกล้วยไข่ มะไฟลองกอง อร่อยรับรอง ลองชิมดูซี
ทุเรียนเนื้อเหลือง มะเฟืองรสดี กินแล้วจะมี สิ่งดีมากมาย
ส้มโอผลใหญ่ ถูกใจเหลือหลาย หากินได้ง่าย มากมายไม่แพง
สตอเบอรี่ นั้นมีสีแดง ปลูกได้หลายแห่ง แหล่งใหญ่ภาคเหนือ
ผลไม้ของไทย กินได้ไม่เบื่อ ประโยชน์เหลือเฟือ เมื่อได้กินเอย
2. นำส้ม 1 ตะกร้า เอาผ้าคลุมปิดไว้ให้เด็กทายว่าเป็นอะไร แล้วเฉลยด้วยการเปิด
ผ้าคลุมตะกร้าออก
3. นำกล้วย 1 ตะกร้า เอาผ้าคลุมปิดไว้ให้เด็กทายว่าเป็นอะไร แล้วเฉลยด้วยการเปิด
ผ้าคลุมตะกร้าออก
4. ให้เด็กสังเกตผลไม้ทั้ง 2 ตะกร้า (ตะกร้าใบแรกเป็นส้มที่ทำความสะอาดแล้ว ตะกร้าใบ
ที่ 2 เป็นกล้วยที่ยังไม่ได้ทำความสะอาด) และน้ำ 2 กะละมัง
5. ให้อาสาสมัคร 4 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันล้างกล้วย และส้ม
เพื่อนที่เหลือช่วยสังเกตการณ์ล้าง ครูอาจใช้คำถาม เช่น
- ก่อนล้างผลไม้ทั้ง 2 ตะกร้า ต่างกันหรือไม่
- เมื่อล้างผลไม้ทั้ง 2 ตะกร้าเสร็จแล้วให้เด็กสังเกตน้ำทั้ง 2 กะละมัง
ว่าเป็นอย่างไร
- เพราะเหตุใดน้ำในกะละมังจึงมีสีไม่เหมือนกัน
- ก่อนรับประทานผลไม้ทุกครั้งควรทำอย่างไร
- เด็กๆทราบไหมว่าทำไมเราต้องกินผลไม้ทุกวัน
- ผลไม้ลักษณะใดที่เด็กๆไม่ควรรับประทาน
6. ให้เด็กๆกลุ่มที่ล้างส้มกับกล้วยสลับกันล้าง แล้วสนทนาโดยใช้คำถาม
- เด็กๆสัมผัสส้มแล้วมีความรู้สึกอย่างไร
- เด็กๆสัมผัสกล้วยแล้วมีความรู้สึกอย่างไร
- ลักษณะของส้มและกล้วยเหมือนกันอย่างไร
- ลักษณะของส้มและกล้วยต่างกันอย่างไร
7. เด็กและครูร่วมกันสรุปลักษณะของผลไม้ว่า บางชนิดผลมีลักษณะทรงกลม บางชนิดมี
ลักษณะผลยาวเป็นวงรี
8. ให้เด็ก ๆ ทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง (วงรี)
สื่อ
1. คำคล้องจอง ผลไม้
2. กล้วยและส้มอย่างละ 1 ตะกร้า
3. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง (วงรี)
การประเมิน
วิธีการ
1. สังเกต
- การร่วมกิจกรรม
- การสนทนาและตอบคำถาม
2. ตรวจผลงาน
- การทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง (วงรี)
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกการสังเกต
2. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 การจัดหมวดหมู่ เรื่อง การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง (วงรี)
แผนการจัดประสบการณ์ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรหมบุรี
สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัว หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เรื่อง การทำน้ำผลไม้(การจำแนก เปรียบเทียบรูปทรง)
ใช้สอนสัปดาห์ที่ 2 วันศุกร์ที่.................................................... เวลา 30 นาที
_________________________________________________________________________
สาระสำคัญ
ผลไม้ เป็นอาหารอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะ ส่วนประกอบ และวิธีรับประทานที่แตกต่างกัน มีทั้งประโยชน์และโทษ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดอันตรายได้
จุดประสงค์
1. บอกวิธีทำน้ำผลไม้ได้
2. จำแนก เปรียบเทียบรูปทรงได้
สาระการเรียนรู้
สาระที่ควรเรียนรู้
1. วิธีทำน้ำผลไม้
2. จำแนก เปรียบเทียบรูปทรง
ประสบการณ์สำคัญ
1. การปฏิบัติตามหลักศาสนาที่นับถือ
2. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยอยู่และความเป็นไทย
3. การรู้จักสิ่งต่าง ๆ ด้วยการมอง ฟัง สัมผัส
4. การฟัง/ท่องคำคล้องจอง
5. การเรียงลำดับขนาดสิ่งต่าง ๆ
วิธีดำเนินกิจกรรม
1. ครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง ผลไม้ ทีละวรรค จนจบ
คำคล้องจอง ผลไม้
ผลไม้ของไทย ใครใครก็ชอบ ทั้งหวานทั้งกรอบ ชอบกันหนักหนา
ฝรั่งมังคุด ละมุดพุทรา อีกทั้งน้อยหน่า หนูจ๋าน่าทาน
ลำไยแตงโม ผลโตรสหวาน น่ารับประทาน หอมหวานชวนลอง
กล้วยหอมกล้วยไข่ มะไฟลองกอง อร่อยรับรอง ลองชิมดูซี
ทุเรียนเนื้อเหลือง มะเฟืองรสดี กินแล้วจะมี สิ่งดีมากมาย
ส้มโอผลใหญ่ ถูกใจเหลือหลาย หากินได้ง่าย มากมายไม่แพง
สตอเบอรี่ นั้นมีสีแดง ปลูกได้หลายแห่ง แหล่งใหญ่ภาคเหนือ
ผลไม้ของไทย กินได้ไม่เบื่อ ประโยชน์เหลือเฟือ เมื่อได้กินเอย
1. เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงเนื้อหาในคำคล้องจอง ด้วยคำถาม
- ผลไม้นอกจากจะปอกกินสดๆแล้ว เรายังนำผลไม้ไปทำอะไรได้อีก
- เด็กๆเคยรับประทานน้ำผลไม้อะไรบ้าง
2. สาธิตการทำน้ำผลไม้คั้น(น้ำส้มผสมน้ำสับปะรด)ให้เด็กดู โดย
- ให้เด็กๆช่วยกันบอกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำผลไม้
- ให้เด็กนำผลส้มกับสับปะรดไปล้างให้สะอาด
- สาธิตการคั้นเอาน้ำส้มออกมา โดยการใช้มีดผ่ากึ่งกลางผลส้ม แล้วบีบเอาน้ำออกมาโดย
ใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้
- สาธิตการปอกเปลือกสับปะรด แล้วหั่นสับปะรดเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เด็กๆสังเกตลักษณะของ
ผลส้มกับสับปะรดว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร(ให้อาสาสมัครออกมาทดลองคั้นน้ำส้ม และหั่นสับปะรด)
- ให้เด็กทดลองชิมน้ำส้มและสับปะรด แล้วบอกรสชาติที่ได้ชิม
- ให้อาสาสมัครนำน้ำส้มและตักเนื้อสับปะรดใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้
- ให้อาสาสมัครออกมาตักน้ำแข็งใส่เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ปิดฝาให้แน่น แล้วกดปุ่มให้เครื่อง
ปั่นทำงาน
- เมื่อปั่นน้ำแข็งจนละเอียดแล้ว ตักน้ำผลไม้ที่ทำใส่แก้วให้เด็กๆทดลองชิมน้ำส้มผสมน้ำ
สับปะรด แล้วบอกรสชาติที่ได้ชิม
3. เด็กและครูร่วมกันสรุปถึงวิธีทำน้ำผลไม้ว่าผลไม้มีลักษณะแตกต่างกันไป บางชนิดผลมี
ลักษณะทรงกลม บางชนิดมีลักษณะผลยาวเป็นวงรี ซึ่งมีรสชาติและวิธีการรับประทานที่แตกต่างกันไป
4. ให้เด็ก ๆ ทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชุดฝึกที่ 6 การจัด
หมวดหมู่ หน่วย ผลไม้แสนอร่อย อย่างอิสระ
สื่อ
1. คำคล้องจอง ผลไม้
2. ผลส้ม และสับปะรด
3. มีด เขียง ที่คั้นผลไม้ เครื่องปั่นน้ำผลไม้ แก้ว
4. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 5 รูปร่างรูปทรงหรรษา หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
การประเมิน
วิธีการ
1. สังเกต
- การร่วมกิจกรรม
- การสนทนาและตอบคำถาม
2. ตรวจผลงาน
- การทำชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 รูปร่างรูปทรงหรรษา หน่วย ผลไม้แสนอร่อย
เครื่องมือ
1. แบบบันทึกการสังเกต
2. ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชุดฝึกที่ 6 รูปร่างรูปทรงหรรษา หน่วย ผลไม้แสนอร่อย