เรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนโนนกอกวิทยา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้รายงาน ประมวล คิดควร
หน่วยงาน โรงเรียนโนนกอกวิทยา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนโนนกอกวิทยา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ ประเมินคุณภาพของนักเรียนเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมลักษณะนิสัยรักการอ่านและทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ด้านความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียน และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ก่อนและหลังดำเนินโครงการ และประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการ โดยผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนโนนกอกวิทยาวิทยา ปีการศึกษา 2560
รวม 2,106 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 633 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบไปด้วยแบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทำการรวบรวมข้อมูล แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test
ผลการศึกษา
1. ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวม ทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ทุกด้านและทุกรายการ ด้านบริบทของโครงการทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดที่ 1) ความต้องการและจำเป็นของโครงการมีระดับสูงสุด ในตัวชี้วัดที่ 1) ความต้องการและจำเป็นของโครงการ โดยภาพรวมมีความต้องการและจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นรายการที่มีความต้องการและจำเป็นสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 2) ความเหมาะสมขององค์ประกอบโครงการ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยชื่อโครงการเป็นรายการที่มีความเหมาะสมขององค์ประกอบโครงการสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 3) ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ โดยภาพรวม มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็นวัตถุประสงค์ที่มีความเป็นไปได้สูงสุด ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการบริหารจัดการการดำเนินโครงการ เป็นปัจจัยนำเข้าที่มีความเหมาะสมสูงสุด ด้านกระบวนการของโครงการทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการวางแผน มีการปฏิบัติสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 1) การวางแผน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและจำเป็นในการพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาเป็นรายการการวางแผนที่มี
การปฏิบัติสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 2) การดำเนินการโดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างหลากหลายและน่าสนใจเป็นรายการการดำเนินการที่มีการปฏิบัติสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 3) การประเมินผล โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการประเมินผล มีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรายการการประเมินผลที่มีการปฏิบัติสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 4) การนิเทศ กำกับและติดตาม โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการนิเทศ กำกับและติดตามอย่างสม่ำเสมอ เป็นรายการการนิเทศ กำกับและติดตามที่มีการปฏิบัติสูงสุด ตัวชี้วัดที่ 5) การนำเสนอผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนา โดยรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการขยายผลการปรับปรุงและพัฒนาให้ทุกฝ่ายได้รับทราบและนำไปปฏิบัติเป็นรายการการนำเสนอผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาที่มีการปฏิบัติสูงสุด ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้นเป็นรายการผลผลิตที่มีความสำเร็จสูงสุด
2. ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมลักษณะนิสัยรักการ
อ่านและทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน พบว่าพฤติกรรมลักษณะนิสัยรักการอ่านและทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยภาพรวมหลังดำเนินโครงการมีระดับการปฏิบัติสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียน พบว่านักเรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยภาพรวมหลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยภาพรวมหลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา
นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนโนนกอกวิทยาวิทยา พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า ทุกรายการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยโครงการช่วยพัฒนานิสัยรักการอ่านของนักเรียนเป็นรายการที่มีความพึงพอใจสูงสุด