บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยแบบ Content Based Instruction กับการสอนแบบ Code Switching
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระแม่มารี พระโขนง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 16 คน โดยทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน จากนักเรียน 2 ห้อง โดยวิธีการจับคู่ (Paired group) คือ กลุ่มทดลอง ที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบ Code Switching เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Content Based Instruction และแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Code Switching แบบทดสอบผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยสรุปดังนี้
1. การสอนแบบ Content Based Instruction มีผลการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Code Switching โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction และการสอนแบบ Code Switching พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Code Switching มีความพึงพอใจระดับมาก
อภิปรายผลการวิจัย
ผู้วิจัยอภิปรายผลจากข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
1. จากผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนแบบ Content Based Instruction สูงกว่าการสอนแบบ Code Switching อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมมติฐานที่ตั้งไว้
2. จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction และนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Code Switching มีผลการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction มีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ระดับมากที่สุด ส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Code Switching มีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีระดับความพึงพอใจต่ำกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบ Content Based Instruction ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ การเรียนแบบ Content Based Instructionทำให้นักเรียนมีความพยายามในการเรียนรู้ สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น มีการช่วยเหลือกันในกลุ่ม