ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางสุพรรณี เจียมรัตนศรี
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้มีดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร จากนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านพระปรง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้กลุ่มประชากรเป็นกลุ่มเป้าหมายเครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 18 แผน 2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยทำการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test) และ 4)
แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.89/85.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเรื่อง เวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.65,
S.D. = 0.62)