เรื่อง รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา
ผู้รายงาน ประมวล คิดควร
หน่วยงาน โรงเรียนโนนกอกวิทยา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การรายงานการศึกษาการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา ผู้รายงานได้ดำเนินการประเมิน โดยใช้รูปแบบจำลองซิป (CIPP Model) ในการประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงาน ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ (2) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยาที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ประชากรคือ ผู้บริหาร และ ครู โรงเรียนโนนกอกวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 49 คน และกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนโนนกอกวิทยา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 276 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 9 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา ฉบับที่ 2 แบบประเมินความพร้อมของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา ฉบับที่ 3 แบบประเมินความเหมาะสมในการดำเนินการด้านกระบวนการของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา ฉบับที่ 4 แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของครู เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฉบับที่ 5 แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการผลิตสื่อและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน ฉบับที่ 6 แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ฉบับที่ 7 แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของครู เกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ฉบับที่ 8 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ต่อการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในตามโครงการ และประเมินฉบับที่ 9 แบบประเมินการดำเนินงานตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยาด้านผลผลิตของโครงการ (สำหรับนักเรียน) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1. การประเมินโครงการนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบจำลองซิป(CIPP Model) ปีการศึกษา
2553 มีผลการประเมินดังนี้
1.1 ด้านความเหมาะสมของสภาวะแวดล้อมของโครงการ มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
1.2 ด้านความพร้อมของปัจจัยในการดำเนินงานตามโครงการ มีระดับความ
เหมาะสมมากที่สุด
1.3 ด้านความเหมาะสมในการดำเนินการด้านกระบวนการของโครงการ แบ่งออกเป็น
1.3.1 ขั้นเตรียมการนิเทศภายใน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
1.3.2 ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรมการนิเทศภายใน มีระดับความเหมาะสมมาก
1.3.3 ขั้นประเมินผลและรายงาน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการนิเทศภายใน แบ่งออกเป็น
1.4.1 ผลการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในตามโครงการนิเทศภายในโรงเรียนโนนกอกวิทยา ปีการศึกษา 2559 มีการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในตามโครงการ ด้านการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.30
1.4.2 ผลการปฏิบัติงานของครู ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ แบ่งได้ดังนี้
1.4.2.1 การปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีระดับการปฏิบัติมาก
1.4.2.2 การปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการผลิตสื่อและการใช้สื่อประกอบการ
เรียนการสอน มีระดับการปฏิบัติมาก
1.4.2.3 การปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการวัดผลและการประเมินผลตาม
สภาพจริงมีระดับการปฏิบัติมาก
1.4.2.4 การปฏิบัติงานของครูเกี่ยวกับการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน มีระดับการ
ปฏิบัติมาก
1.4.3 ความพึงพอใจของครูต่อการจัดกิจกรรมการนิเทศภายใน อยู่ในระดับมาก
1.4.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนการสอนของครู อยู่ใน
ระดับมาก
2. ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน มีดังนี้
2.1 ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในที่มีต่อโรงเรียน ได้รับรางวัลจำนวน 10 ครั้ง โดยได้รับรางวัลมากที่สุดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 รางวัล
2.2 ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในที่มีผู้บริหาร ได้รับรางวัล 5 ครั้ง โดยได้รับ
รางวัลมากที่สุดจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 2 รางวัล
2.3 ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในที่มีต่อครู ได้รับรางวัล 129 ครั้ง โดยได้รับรางวัล
มากที่สุดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 78 ครั้ง
2.4 ผลกระทบของโครงการนิเทศภายในที่มีต่อนักเรียน ได้รับรางวัล 210 ครั้ง โดยได้รับรางวัลมากที่สุดจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 153 ครั้ง
2.5 ผลกระทบของการจัดกิจกรรมนิเทศภายในต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านเกณฑ์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านเกณฑ์ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้