บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง :การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
ชื่อผู้ประเมิน :นางสาวเพ็ญศรี คงคาวงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดท่าเสริม อำเภอหัวไทร
จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช
เขต 3
ปีที่ประเมิน :ปีการศึกษา 2559
การประเมินโครงการ ครั้งนี้ ใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
2.เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation ) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
3.เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation ) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
4.เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation ) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
4.1 ความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
4.2 การมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม ของครู
ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม
4.3 คุณภาพของผู้เรียน จากผลการประเมิน ดังนี้
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4.3.2 ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT)
4.3.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O - NET)
4.3.4 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านออก เขียนได้
4.4 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ รวมทั้งหมด จำนวน 65 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ครูจำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมผู้แทนครู 1 คน และผู้บริหารโรงเรียน 1 คน ) ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประอบด้วย
ฉบับที่ 1 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก่อนการดำเนินโครงการ (Context Evaluation)
ฉบับที่ 2 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความเหมาะสมปัจจัยนำเข้าก่อนการดำเนินโครงการ (Input Evaluation )
ฉบับที่ 3 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของโครงการ(Product Evaluation )
ฉบับที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 5 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง เกี่ยวกับผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT) ของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง เกี่ยวกับผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O - NET) ของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 7 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง เกี่ยวกับผลการประเมินความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 8 แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 9 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
ฉบับที่ 10 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมิน โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมิน โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation ) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation ) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม ด้านกระบวนการ (Process Evaluation ) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต (Product Evaluation ) โครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม จำแนกเป็น ดังนี้
4.1 คุณภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ(National Test : NT)
อยู่ในระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O - NET) อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 การมีส่วนร่วมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าซอม ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาการอ่านออก เขียนได้แบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดท่าเสริม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน