ผู้วิจัย นางสาววาสนา ปิจุลกิลิน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดพิศาลนฤมิต อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการศึกษา 18 ชั่วโมง รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ One Group Pretest Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 และการทดสอบค่าที (t test แบบ Dependent samples)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐานเรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนในแบบฝึกทักษะแต่ละเล่ม เล่มละ 1 ฉบับ ๆ ละ 10 ข้อ รวม 6 เล่ม จำนวน 60 ข้อ เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.40 0.62 ค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.40 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่น ( ) ของแต่ละฉบับเท่ากับ 0.83, 0.82, 0.81, 0.83, 0.82 และ 0.81 ตามลำดับ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.36 0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.24 0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 2.14 6.94 และมี ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 โดยมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.75/77.67
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ รายวิชา ค16101 คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.38 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) เท่ากับ 0.47