การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้ พัฒนาชีวิต ซึ่งนอกจากจะ
ทำให้เกิดความรู้แล้ว ยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้แนวคิดในการดำเนินชีวิต แตในการจัดการเรียนรูด้านการอ่านจับใจความ ยังเป็น
ปญหาอยูมาก ผู้ศึกษาจึงไดศึกษาวิธีแกปญหาดังกล่าวโดยวิธีการจัดการเรียนรูด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R ซึ่งทำให้ประสบผลสำเร็จในการเรียนรูได้ ความมุ่งหมายของการศึกษา ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
๘๐/๘๐ ๒) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา การอ่านจับใจความโดยใช้
วิธีอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๓) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ
การอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ ๒ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑ จำนวน ๓๑ คน โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษามิ่งเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ซึ่งได้มาโดยการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R จำนวน ๘ เรื่อง ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๖ แผน แผนละ ๑ ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ๓ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ ๐.๒๗ ถึง ๐.๘๘ และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒
๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีอ่านแบบ SQ๓R เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) จำนวน ๑๕ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
๑) ประสิทธิภาพของการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ
SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๙.๗๙/ ๙๓.๔๔ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าเท่ากับ ๐.๘๖๔๘ แสดงว่านักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ ๘๖.๔๘
๓) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๒ ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๔) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจจากการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ ด้วยแบบฝึกทักษะโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ ๔.๔๔ อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้วิธีอ่านแบบ SQ๓R
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความและสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูผู้สอนภาษาไทยจึงควรนำวิธีการเรียนรู้ดังกล่าว
ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น