ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model)
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางรัตนา ญาณสูตร
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารายงานการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) 2.1 เพื่อศึกษาการบันทึกในหน่วยความจำของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) 2.2 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) 2.3 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า CESSL Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการกระตุ้นให้เกิดความสงสัยในปัญญา (Cognitive conflict stage : C) 2) ขั้นขยายโครงสร้างทางปัญญา (Expand the cognitive structure stage : E) 3) ขั้นส่งเสริมการใส่ใจในความจำระยะประสาทสัมผัส (Enhance attention in sensory register: S) 4) ขั้นส่งเสริมการฝึกปฏิบัติและการจัดกลุ่มในความจำระยะสั้น (Enhance rehearsal and chunking in short-term memory : S) และ 5) ขั้นการส่งเสริมการขยายความรู้และ การจัดหมวดหมู่ (Enhance elaborate and organization in long-term memory : L) โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1 /E 2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 85.68/86.38 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) พบว่า
2.1 การบันทึกในหน่วยความจำของผู้เรียน มี 3 ระยะได้แก่ 1.การบันทึกในความจำระยะประสาทสัมผัส โดยผู้เรียนจะต้องใส่ใจ 2. การบันทึกในความจำระยะสั้น ผู้เรียนจะต้องจัดกลุ่มและการทำแบบฝึกหัดหรือการท่องสารสนเทศซ้ำๆ และ 3. การบันทึกในความจำระยะยาว ผู้เรียนจะต้องขยายความรู้และจัดหมวดหมู่สารสนเทศ
2.2 ผลการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.55 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) พบว่า หลังจากที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ ส่งผลให้ช่วยจำคำศัพท์ได้ดีขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
3) การขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมการบันทึกในหน่วยความจำ เรื่อง Family กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CESSL Model) พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนกลุ่มขยายผลมีความสามรถในการบันทึกในหน่วยความจำ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05