บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร
ชื่อผู้วิจัย นายสุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์
ปีที่วิจัย 2560
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย
โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วรรณคดีไทยระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร จังหวัดระยอง ที่มีต่อรูปแบบ
การเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง
วิทยสถาวร จังหวัดระยอง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน รวม 43 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sample) ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้รับผิดชอบสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ดังนี้ ขั้นที่ 1 ฝึกฝนตั้งคำถาม ขั้นที่ 2 แสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นที่ 3 ก้าวไกลเกิดประสบการณ์ ขั้นที่ 4 สื่อสารนำเสนอความรู้ ขั้นที่ 5 ควบคู่ให้บริการสังคม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย และแบบประเมินความพึงพอใจโดย
ผ่านการตรวจสอบจากครูผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รูปแบบการวิจัยใช้
แบบแผนการวิจัยแบบ one group pretest-posttest design ดำเนินการวิจัยโดยผู้วิจัยชี้แจงจุดประสงค์และรายละเอียดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย
แบบเบญจวิถี ให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 43 คน ได้ทราบ แล้วจึงทดสอบก่อนเรียน
ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แล้วนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผู้วิจัย
จัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย แบบเบญจวิถี ที่ได้สร้างขึ้น จำนวน
3 หน่วยการเรียนรู้ รวมเวลา 23 ชั่วโมง กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้เวลา
ในการดำเนินการวิจัยสัปดาห์ละ 2 วัน รวม 12 สัปดาห์ ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการวิจัยด้วยตนเอง
โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน แล้วเรียนรู้ตามขั้นตอนจากรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย แบบเบญจวิถี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หลังจากนั้นนักเรียนทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบก่อนการเรียน หลังจากนั้นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังจากการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย แบบเบญจวิถี ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดย
การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย แบบเบญจวิถี ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยใช้
ค่าร้อยละ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้วรรณคดีไทย แบบเบญจวิถี ด้วยการทดสอบค่าที (t-test for dependent sample)
และศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ได้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยที่พัฒนาแล้ว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา-
ปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ที่มีองค์ประกอบ
5 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและ
การประเมินผล โดยดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน โดยครูผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระ-
การเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร อยู่ในระดับดีมาก
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
แบบเบญจวิถี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้
วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) แบบเบญจวิถี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด