รายงานการประเมินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560
วริศรา คำนึงธรรม*
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินจำนวนครูและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและบุคลากรต่อโครงการ หลังดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะ และความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาของครูและบุคลากร ก่อนและหลังดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ และเพื่อศึกษาการนำความรู้ ทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาของครูและบุคลากรไปใช้ในการปฏิบัติงาน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ กลุ่มเป้าหมายคือครูและ บุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย ปีงบประมาณ 2560 ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อโครงการ แบบทดสอบวัดความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามวัดทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามวัดความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา และแบบสอบถามการนำความรู้ ทักษะการเขียนโครงการและการเขียนประเมินโครงการไปใช้ในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าระหว่าง 0.60 1.00 แบบทดสอบวัดความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา มีค่าความยากระหว่าง 0.50 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 ส่วนแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อโครงการ แบบสอบถามวัดทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามวัดความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามการนำความรู้ ทักษะการเขียนโครงการ และการประเมินโครงการไปใช้ในการปฏิบัติงาน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาแต่ละฉบับเท่ากับ 0.78, 0.79, 0.70
*ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และ 0.72 ตาม ลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ ด้วยการหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ และนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย แล้วแปลคะแนนที่ได้ว่ามีคุณภาพ ภาพรวม ระดับใด
ผลการประเมินโครงการครั้งนี้พบว่า
1. จำนวนครูและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการเชิงปริมาณ มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 บรรลุเป้าหมายโครงการ
2. หลังดำเนินโครงการเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่
ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.89 และระดับมาก ร้อยละ 11.11 และเชิงคุณภาพครูและบุคลากรมีความพึงพอใจต่อโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุเป้าหมายโครงการ
3. ก่อนดำเนินโครงการเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทุกคน ร้อยละ 100.00 มีความรู้ในการ
เขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ มีความรู้ระดับดีมาก ร้อยละ 88.89 และระดับดี ร้อยละ 11.11 บรรลุเป้าหมายโครงการ สำหรับเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก บรรลุเป้าหมายโครงการ
4. ก่อนดำเนินโครงการเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทุกคน ร้อยละ 100.00 มีทักษะในการ
เขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ มีทักษะระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.89 และระดับมาก ร้อยละ 11.11 บรรลุเป้าหมายโครงการ สำหรับเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีทักษะในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุเป้าหมายโครงการ
5. ก่อนดำเนินโครงการเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทุกคน ร้อยละ 100.00 มีความตระหนัก
ถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ มีความตระหนักระดับดีมาก ร้อยละ 88.89 และระดับดี ร้อยละ 11.11 บรรลุเป้าหมายโครงการ สำหรับเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ ไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก บรรลุเป้าหมายโครงการ
6. หลังดำเนินโครงการเชิงปริมาณ ครูและบุคลากรทุกคนมีการนำความรู้ ทักษะในการเขียน
และประเมินโครงการสถานศึกษา ไปใช้ในการเขียนและประเมินโครงการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 100.00 บรรลุเป้าหมายโครงการ และเชิงคุณภาพ ครูและบุคลากรมีการนำความรู้ ทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ไปใช้ในการเขียนและประเมินโครงการปฏิบัติงาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด บรรลุเป้าหมายโครงการ
บทสรุปผู้บริหาร
ชื่อรายงานการประเมินโครงการ
รายงานการประเมินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560
วัตถุประสงค์ของการประเมิน
1. เพื่อประเมินจำนวนครูและบุคลากร ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อำเภอบางซ้าย ที่เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ให้ครูและบุคลากรของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 เปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูและบุคลากรต่อโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและ
ประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 หลังการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ
3. เพื่อเปรียบเทียบความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ของครูและบุคลากร
ที่เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ก่อนและหลังการดำเนินโครงการกับเป้าหมายโครงการ
4. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ของครูและบุคลากร
ที่เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ก่อนและหลังการดำเนินโครงการกับเป้าหมายโครงการ
5. เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ของครูและ
บุคลากร ที่เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ก่อนและหลังการดำเนินโครงการกับเป้าหมายโครงการ
6. เพื่อศึกษาการนำความรู้ ทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ของครูและ
บุคลากรไปใช้ในการปฏิบัติงาน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ บางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับเป้าหมายโครงการ
ที่มาของการประเมิน
โครงการเป็นแผนงาน ที่มีการเตรียมการอย่างใดอย่างหนึ่งมีลักษณะความหลากหลายทั้งในเรื่องขนาด ขอบข่าย เวลา กลุ่มเป้าหมาย หรือผู้รับบริการ รวมทั้งระยะเวลาดำเนินการโครงการ มีฐานมาจากการประเมินความต้องการจำเป็นผ่านการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โครงการจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนแก้ไขปัญหา หรือนวัตกรรมใหม่ หรือวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ ตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับบริการ การได้มาแต่ละโครงการที่ผ่านการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น จึงเชื่อถือได้ว่า เป็นความต้องการอย่างแท้จริง โครงการมีความแตกต่างจากงานที่ปฏิบัติเป็นประจำ มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง มีผลผลิตเป็นเป้าหมายที่ระบุตัวชี้วัดไว้อย่างชัดเจน มีหน่วยงานและผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ผลลัพธ์ของโครงการยังตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โครงการจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2557 : 6-7) นอกจากนี้โครงการที่ดีต้องมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ และที่สำคัญโครงการต้องสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ และสามารถติดตามประเมินผลได้ อันจะส่งผลให้หน่วยงานได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินงานอย่างคุ้มค่า (เชาว์ อินใย. 2558 : 10) ดังนั้นบุคลากรในหน่วยงานต้องมีความรู้ ทักษะในการเขียนและประเมินโครงการ และผู้บริหารหน่วยงานจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานของตนเอง ให้มีความรู้และทักษะในการเขียนและประเมินโครงการ โดยการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรสามารถเขียนและประเมินโครงการได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ (พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2557 : 16-17) จะเห็นได้ว่าการเขียน และการประเมินโครงการ เป็นกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงการบริหารนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างคุ้มค่า และแก้ปัญหาความต้องการจำเป็นของผู้รับบริการได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ด้วยความสำคัญและประโยชน์ดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงได้กำหนดนโยบาย จุดเน้น ให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งทั่วประเทศ ปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับนโยบาย จุดเน้น และความต้องการจำเป็นของกลุ่มเป้าหมายหรือประชาชนผู้รับบริการ โดยใช้โครงการเป็นเครื่องมือดำเนินงานในระดับพื้นที่ ดังนั้นโครงการและการประเมินโครงการ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จะทำให้ยุทธศาสตร์ นโยบาย และจุดเน้นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประสบความสำเร็จได้
แต่สภาพปัญหาการเขียนและประเมินโครงการของครูและบุคลากร ศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีปัญหาครูและบุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการเขียนและประเมินโครงการที่ถูกต้อง จากการตรวจสอบโครงการที่ครูและบุคลากรจัดทำขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 ถึง ปีการศึกษา 2559 ปรากฏว่า ครูและบุคลากรมีความรู้และทักษะในการเขียนและประเมินโครงการค่อนข้างน้อย เพียงร้อยละ 9.45 ประกอบกับกระบวนการเรียนรู้ในการเขียน และการประเมินโครงการของครูและบุคลากร ส่วนใหญ่ได้มาจากการนำโครงการของเพื่อนครูมาศึกษาและเขียนตาม หากมีปัญหาในการเขียนก็ใช้วิธีการสอบถามจากเพื่อนครู หรือผู้บริหารเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้บริหารสามารถช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนางานได้เพียงระดับน้อยเท่านั้น หากไม่มีการแก้ปัญหาดังกล่าว จะก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในการบริหารโครงการของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับการติดตามโครงการ การตรวจสอบติดตามผลของโครงการ การประเมินโครงการที่ต้องประเมินความก้าวหน้าของแผนเปรียบเทียบกับการปฏิบัติงานจริง กับผลที่คาดว่าจะได้รับ จึงทำให้ไม่ทราบว่าโครงการประสบผลสำเร็จหรือไม่ หรือมีปัญหาอย่างไร จะต้องปรับปรุงอย่างไร เมื่อไม่มีข้อมูลดังกล่าว ก็จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการบริหารและการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาครูและบุคลากรศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มีความรู้ ทักษะในการเขียน และประเมินโครงการที่ถูกต้อง มีคุณภาพ โดยจัดทำโครงการอบรมปฏิบัติการ การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ขึ้น โดยมีวัตถุประการสำคัญเพื่อให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสมกับปัญหาความต้องการจำเป็น อันจะทำให้ครูและบุคลากรมีความรู้ และทักษะในการเขียนและประเมินโครงการที่ถูกต้อง และมีคุณภาพสูงขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาและการพัฒนางานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงขึ้น และยังช่วยให้การดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรลุวัตถุประสงค์ ตามยุทธศาสตร์ นโยบาย และจุดเน้น ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่กำหนดให้สถานศึกษาปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านโครงการไปยังนักศึกษา ประชาชนผู้รับบริการ รวมทั้งสังคม และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลตามมา และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศการดำเนิน ที่จะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินโครงการ จึงมีความจำเป็นต้องประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา โดยใช้การประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler) (เชาว์ อินใย. 2555 : 101-102; อ้างถึง Tyler. 1942) และของโดนัล แอล โดนัล แอล โดนัล แอล เคิร์กแพททริก (Donald L. Kirkpatrich) (ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560 : Online; อ้างถึง Donald L. Kirkpatrich. 1975) โดยได้นำการประเมินโครงการตามวัตถุประสงค์ของไทเลอร์ (Tyler) มาเป็นแนวทาง เพื่อตัดสินว่าวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้น ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ส่วนใดที่ประสบผลสำเร็จก็อาจเก็บไว้ใช้ต่อไป แต่ส่วนใดที่ไม่ประสบผลสำเร็จก็นำไปปรับปรุงแก้ไข เป็นการประเมินที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่เป็นผลมาจากการจัดการฝึกอบรม การประเมินตามแนวคิดของไทเลอร์ (Tyler) นี้ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายกระทำได้จริงหลังจากที่ได้จัดการฝึกอบรมแล้ว กับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้น เป็นกระบวนการตัดสินว่าการฝึกอบรมบรรลุวัตถุประสงค์ได้เพียงใด ส่วนการประเมินของโดนัล แอล เคิร์กแพททริก (Donald L. Kirkpatrich) ได้นำมาเป็นแนวทางการประเมินเนื้อหาโครงการฝึกอบรมครั้งนี้ จำนวน 3 ขั้นตอน คือ (1) การประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction) หรือการประเมินความพึงพอใจ (Satisfaction) (2) ประเมินการเรียนรู้ (Learning) และ (3) การประเมินพฤติกรรม (Behavior) ที่เปลี่ยนไปหลังการฝึกอบรม เพื่อนำไปบริหารจัดการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเขียนและประเมินโครงการได้ถูกต้องสมบูรณ์ ตลอดจนสามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป
ดังนั้น ในฐานะผู้บริหารโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและการประเมินโครงการสถานศึกษาให้กับครูและบุคลากรศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรู้และทักษะการเขียนและการประเมินโครงการของครูและบุคลากร ซึ่งมีคุณภาพระดับค่อนข้างน้อย ทำให้การปฏิบัติงานด้อยประสิทธิภาพ และยังส่งผลต่อผู้รับบริการไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาให้ตรงประเด็น ส่งผลต่อการยอมรับในคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษา และความเชื่อถือ ศรัทธาจากชุมชน สังคม จึงได้จัดทำโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและการประเมินโครงการสถานศึกษา ให้กับครูและบุคลากรศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 เพื่อเป็นการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และมีความตระหนักความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีความพึงพอใจต่อโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและการประเมินโครงการสถานศึกษา เมื่อได้ดำเนินการตามโครงการนี้แล้ว จึงศึกษาวิจัยประเมินโครงการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารโครงการ ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินการโครงการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
การดำเนินงานการประเมินโครงการ พร้อมภาพประกอบ
1. ก่อนดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ให้ครูและบุคลากรตอบแบบทดสอบวัดความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามวัดทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา และแบบสอบถามวัดความตระหนักต่อการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา รวมทั้งให้ครูและบุคลากรลงนามการเข้าร่วมโครงการในแบบบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการทุกวันก่อนรับการอบรม
2. ขณะดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ประเมินโดยได้ใช้การสังเกต การซักถาม สังเกตการตอบคำถาม ความรู้และทักษะของครูและบุคลากรที่ได้รับขณะดำเนินโครงการ ประสาน เอื้ออำนวย กระตุ้นให้ครูและบุคลากรสนใจเรียนรู้การอบรมที่ได้รับจากวิทยากรอย่างต่อเนื่อง
3. หลังดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ให้ครูและบุคลากรตอบแบบทดสอบวัดความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา แบบสอบถามวัดทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา และแบบสอบถามวัดความตระหนักต่อการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ซึ่งเป็นชุดเดียวกันกับที่ตอบก่อนดำเนิน
โครงการนี้ ตลอดจนให้ครูและบุคลากรตอบแบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อโครงการอบรมปฏิบัติการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา เมื่อดำเนินโครงการเสร็จสิ้น ต่อจากนั้นหลังดำเนินโครงการนี้เสร็จสิ้นอีก 1 เดือนต่อมา จึงให้ครูและบุคลากร ตอบแบบสอบถามการนำความรู้ ทักษะการเขียน และการประเมิน โครงการสถานศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติงาน
ผลการประเมินโครงการ
1. จำนวนครูและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการ
สถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ปีงบประมาณ 2560 มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณและตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า บรรลุเป้าหมายโครงการ
2. หลังดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ครูและบุคลากรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.89 และระดับมาก ร้อยละ 11.11 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า บรรลุเป้าหมายโครงการ สำหรับผลการประเมินเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ หลังดำเนินโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า บรรลุเป้าหมายโครงการ
3. ก่อนดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ครูและบุคลากรทุกคนมีความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 100.00 หลังดำเนินโครงการครูและบุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ระดับ ดีมาก ร้อยละ 88.89 และระดับดี ร้อยละ 11.11 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ และ
ตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมาย
โครงการ และหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมาย สำหรับผลการประเมินการเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการครูและบุคลากรมีความรู้การเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ หลังดำเนินโครงการภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ ส่วนหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการ
4. ก่อนดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ครูและบุคลากรทุกคนมีทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 100.00 หลังดำเนินโครงการครูและบุคลากรส่วนใหญ่มีทักษะระดับมากที่สุด ร้อยละ 88.89 และระดับมาก ร้อยละ 11.11 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมาย สำหรับผลการประเมินการเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ หลังดำเนินโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ ส่วนหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการ
5. ก่อนดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ครูและบุคลากรทุกคนมีความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 100.00 หลังดำเนินโครงการครูและบุคลากรส่วนใหญ่มีความตระหนักถึงความสำคัญ ระดับดีมาก ร้อยละ 88.89 และระดับดี ร้อยละ 11.11 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ และหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมาย สำหรับผลการเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ ก่อนดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีความตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ภาพรวม อยู่ในระดับพอใช้ หลังดำเนินโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า ก่อนดำเนินโครงการไม่บรรลุเป้าหมายโครงการ ส่วนหลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการ
6. หลังดำเนินโครงการอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปีงบประมาณ 2560 ครูและบุคลากรทุกคนมีการนำความรู้ ทักษะการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ไปใช้ในการเขียนและประเมินโครงการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงปริมาณ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของ การดำเนินโครงการเชิงปริมาณ พบว่า หลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการ สำหรับผลการประเมินเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ หลังดำเนินโครงการ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินโครงการเชิงคุณภาพ พบว่า หลังดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายโครงการ
การนำผลการประเมินโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
นำแนวทางการฝึกอบรมปฏิบัติการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ 2560 ที่ได้รับจากวิทยากรฝึกอบรม มาเป็นแนวทางในการปฐมนิเทศการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาให้กับครูและบุคลากรที่บรรจุใหม่ทุกคนของหน่วยงานเพื่อให้มีความรู้และสามารถเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการประเมินโครงการ
ครูและบุคลากรไม่สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมโครงการ 1 เดือน เนื่องจากบางโครงการต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2560 ทำให้การประเมินโครงการในเรื่องนี้ล่าช้าต้องรอการจัดทำโครงการ จึงจะสามารถประเมินพฤติกรรมการนำความรู้และทักษะที่ได้ไปเขียนและประเมินโครงการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอได้
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ดำเนินการโครงการ
ครูและบุคลากรสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจังหวัดอื่นที่มีสภาพปัญหาและบริบทใกล้เคียงกัน ควรนำแนวทางการฝึกอบรมปฏิบัติการการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษานั้น เพื่อใช้ในการปฐมนิเทศครูและบุคลากร ที่ได้รับการบรรจุใหม่ทุกคน หรือพัฒนาบุคลากรในสังกัด ควรได้รับการแนะนำการเขียนและประเมินโครงการสถานศึกษาที่ถูกต้อง เพื่อให้การจัดทำโครงการและรายงานการประเมินผลโครงการมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล