ชื่อผลงาน การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน
โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา2559
ผู้รายงาน นายไกรนรา กล่อมสุข
ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองแดนวิทยา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของผุ้เกี่ยวข้องการดำเนินโครงการ 2) ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน 3) ความพึงพอใจของผุ้เกี่ยวข้องในโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 จำนวน 118 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองจำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลการปรับพฤติกรรมของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.915-0.983
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยาปีการศึกษา 2559 ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2559 คณะกรรมการสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.82, x̄ = 0.19) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และรองลงมาคือ ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.44) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา 2559 พบว่า ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา 2559 พบว่าผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.51) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.33, S.D. = 0.67) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.33, = 0.47) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา 2559 พบว่าผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องของโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D. =0.18 ) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64,S.D. = 0.51) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, = 0.65) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนคลองแดนวิทยาทั้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่รุนแรง และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงโดยรวม ปีการศึกษา 2558 จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 24.31 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 10.31 ลดลง 18 คน คิดเป็นร้อยละ 52.00 และ เมื่อพิจารณาแต่ละพฤติกรรมพบว่า พฤติกรรมการทิ้งขยะไม่ลงถังลดลงมากที่สุด ร้อยละ14.00 รองลงมาคือ ขาดเรียนลดลงร้อยละ 12 ส่วนพฤติกรรมทำลายทรัพย์สินของโรงเรียนลดลงน้อยที่สุด ร้อยละ 0.00
4.3 ความพึงพอใจของโครงการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนคลองแดนวิทยา ปีการศึกษา 2559 สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ การป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 5.00,S.D. =0.00) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาคือ ครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75 ,S.D. = 0.43) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, = 0.66) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรจัดโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ
นักเรียน อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของผู้เรียน โดยมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานที่ประสบความสำเร็จ
2. ควรส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานองค์ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมใน
การจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมกันพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนได้อย่างยั่งยืนเพื่อก่อให้เกิดพลังในการทำงานเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะในการวิจัย/ประเมินครั้งต่อไป
ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนในรูปแบบวิธีการอื่นที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการตามบริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป