ชื่อเรื่อง การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559
ผู้วิจัย นายวันชัย ทันสมัย
ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
ปีที่ศึกษา 2558-2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนโรงเรียน บ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการ พัฒนาคุณลักษณะ ความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของภาคีเครือข่าย ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะ ความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 219 คน และปีการศึกษา 2559 จำนวน 222 คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2558 จำนวน 29 คน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2558 จำนวน 219 คน และ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 222 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 และปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน และ กลุ่มตัวอย่างองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2558 และ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม) ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม) ฉบับที่ 3 แบบสอบถาม คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558 - 2559 (ครู และผู้ปกครอง เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม) และฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558-2559 (นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา 2558 และสิ้นสุด ปีการศึกษา 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows V.18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน และองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2558 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ปีการศึกษา 2559 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2558 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก ปีการศึกษา 2559 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2558 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ใน ระดับมาก ปีการศึกษา 2559 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ องค์กรชุมชน ที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2558 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2559 ภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องตาม สมมติฐาน
ข้อเสนอแนะในการวิจัย
1. ข้อเสนอแนะเพื่อน าผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
1.1 ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้เครือข่ายการมี ส่วนร่วม ผู้บริหารควรศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และการ จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อพัฒนาคุณลักษะความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างถ่องแท้ โดยนำไป ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานศึกษา
1.2 สถานศึกษาควรจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาอย่างเป็นรูปธรรม
1.3 สถานศึกษาควรชี้แจงให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีก่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดความ ตระหนักร่วมกัน และภายหลังการพัฒนา สถานศึกษาควรมีการตรวจสอบความคงทน และยั่งยืนพฤติกรรมของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกฝังให้ นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามตั้งแต่เยาว์วัย
2.2 ควรศึกษารูปแบบหรือกลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริม/พัฒนาความ เป็นคนดีของนักเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในมิติอื่นๆ ต่อไป