ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2559
ผู้รายงาน : นายวันชัย ทันสมัย ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) คุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 2) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 3) คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามด้านความมีวินัย ความรับผิดชอบ การประหยัดและออม และความสามัคคีของนักเรียน 4) มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ปีการศึกษา 2558 (มาตรฐานที่ 2) 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการกลุ่มเป้าหมายในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 222 คน ประชากรครู จำนวน 26 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 222 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตรฐานด้านผู้เรียน (มาตรฐานที่ 2) จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.928-0.982
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านบึง มนูญวิทยาคาร ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 คุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน ด้านความมีวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านประหยัดและออม และด้านความสามัคคี ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินค่าเฉลี่ยมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.03 อยู่ในระดับดีเยี่ยม ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้เครือข่ายการมีส่วนร่วม โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและหรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
2. โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามให้ครอบคลุม
3. โรงเรียนควรจัดให้มีการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนหลังดำเนินโครงการอย่างน้อย 1 ภาคเรียน เพื่อดูแนวโน้มความคงทน/ยั่งยืนของ พฤติกรรม
ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ส่งผลต่อพฤติกรรมนักเรียนด้านการมีวินัยในตนเอง ด้านความรับผิดชอบ ด้านประหยัดและออมและด้านความสามัคคีของนักเรียน
2. ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการของโรงเรียนที่ได้ดำเนินการเพื่อตรวจสอบวัตถุประสงค์ และเป้าหมายความสำเร็จของการดำเนินโครงการ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน