ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางมุกดา วันเย็น
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลท่าล้อ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 35 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากมาจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา กระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 วันที่ 23 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 17 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จำนวน 26 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดย การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 11 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 9 ชุด ชุดละ 10 ข้อ
รวม 90 ข้อ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test Dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 82.19/ 81.90 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา เป็นฐาน (PBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมคะแนนเฉลี่ย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( )