ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า : นางฤทัยรัตน์ ศรีสว่าง
ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า : พฤศจิกายน 2559 ถึง ธันวาคม 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬ ของเรา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา รูปแบบการทดลองใช้เป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา จำนวน 16 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬ ของเรา เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความสอดคล้อง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยการทดสอบที (t - test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ( / ) เท่ากับ 83.91/84.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ตอบแบบสอบถามหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดจังหวัดบึงกาฬของเรา พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก