ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางรจนา ธานี
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านคานหักโนนใหญ่ (ศิริเกตุประชาวิทย์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านคานหักโนนใหญ่ (ศิริเกตุประชาวิทย์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 เล่ม 2) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า โดยใช้สูตร t test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60
2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 86.93/82.86 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุป หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชุด สิ่งประดิษฐ์จากเศษผ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้บรรลุผลและมีประสิทธิภาพได้