ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ชื่อผู้ประเมิน : นางศุภลักษณ์ แก่นแก้ว ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกทราง อำเภอชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช
เขต 3
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2559
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
3. เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรด้านการจัดการ
4.2 การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง
4.3 คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน จากผลการประเมินคุณภาพภายในของผู้เรียนและคุณภาพผู้เรียน
4.4 ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลงที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ รวมทั้งหมด 91 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ครู จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน(ไม่นับรวม
ข
ตัวแทนครู 1 คน และผู้บริหารโรงเรียน 1 คน) ผู้ปกครอง จำนวน 39 คน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง จำนวน 12 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย
ฉบับที่ 1 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ(Context Evaluation)
ฉบับที่ 2 แบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับความเหมาะสมปัจจัยนำเข้าก่อนการดำเนินโครงการ(Input Evaluation)
ฉบับที่ 3 แบบประเมินความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง คระกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานของโครงการ(Product Evaluation)
ฉบับที่ 4 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ด้านบุคคล โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 5 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ด้านการเงิน โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 6 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ด้านวัสดุอุปกรณ์ โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 7 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ด้านการจัดการ โครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 8 แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาตามโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 9 แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ค
ฉบับที่ 10 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลงที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559
ฉบับที่ 11 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง
ปีการศึกษา 2559
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง ด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง ด้านกระบวนการ(Processt Evaluation) ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ด้านผลผลิต(Product Evaluation)
จำแนกเป็น
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ได้แก่ ทรัพยากรด้านบุคคล ทรัพยากรด้านการเงิน ทรัพยากรด้านวัสดุและอุปกรณ์และทรัพยากรด้านการจัดการ จากการบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประทเมิน
4.2 คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดโคกทราง จากการประเมินคุณภาพคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน คือ การประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาปฐมวัยอยู่ในระดับดีมาก และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับดีมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ง
4.3 การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ตาม
ความเห็นของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลง อยู่ในระดับ ดีมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ปกครองและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนางหลงที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับ มาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรนำผลการประเมินไปวิเคราะห์รายละเอียดผลการดำเนินงานว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอย่างไร เพื่อนำไปปรับปรุงรูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ครั้งต่อไปให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษามากยิ่งขึ้น
1.2 ควรดำเนินการภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วม ในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ให้ครอบคลุมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนให้มากที่สุด
1.3 ควรนำผลการดำเนินงานโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนวัดโคกทราง ปีการศึกษา 2559 ไปเผยแพร่ในวงกว้าง ทั้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นๆ เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพต่อไป
1.4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรส่งเสริมรูปแบบการประเมินโครงการให้กับโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนอื่น ๆ ทั้งระบบ
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับการลงทุนทางการศึกษาของรัฐ และเกิดความเสมอภาค
2.2 ควรมีการศึกษาและประเมินความต้องการ ความจำเป็นของทรัพยากรทางการศึกษาเป็นรายด้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน