ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ความปลอดภัยกันไว้ดีกว่าแก้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ( สุขศึกษา ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นายณัฐพล สาคะศุภฤกษ์
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล ของการเรียนด้วยชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
เรื่องความปลอดภัยกันไว้ดีกว่าแก้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านดงชมภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้
ในครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก รายข้อตั้งแต่ 0.20 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.27 - 0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา ผลปรากฏดังนี้
1. ชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ความปลอดภัยกันไว้ดีกว่าแก้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 85.15/85.65
2. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.67
3. การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน/หลังเรียน พบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยรวม
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 อยู่ในระดับ มากที่สุด
สรุปได้ว่า ชุดหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ความปลอดภัยกันไว้ดีกว่าแก้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ได้