ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการบริหารและการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของโรงเรียนวัดหัวกรด สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
ผู้รายงาน : นางสาวราตรี เทียนดำ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหัวกรด
คำสำคัญ : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการความรู้ การประเมินโครงการ
ปีที่รายงาน : 2559
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อรายงานผลการประเมิน
โครงการบริหารและการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้กลยุทธ์
การจัดการความรู้ของโรงเรียนวัดหัวกรด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
โดยใช้รูปแบบประเมินจำลองของซิปป์ (CIPP Model) และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลของโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดหัวกรด ปีการศึกษา
2559 ได้แก่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการ
จากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ใช้กลุ่มประชากรเป็นผู้ให้ข้อมูล และผู้แทน
ผู้ปกครองและผู้แทนบุคคลในชุมชนใช้การเลือกอย่างเจาะจงจากกลุ่มประชากรมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ผลการประเมินโครงการบริหารและการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้ของโรงเรียนวัดหัวกรด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสมมากที่สุด และเมื่อจำแนก
เป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบท ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูล
มีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) ผู้ร่วมจัดทำโครงการทำงานร่วมกันได้อย่างกัลยาณมิตร
ที่พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อจัดการความรู้ 2) โครงการสนับสนุนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ 3) ผู้ร่วมดำเนินโครงการตระหนักในความสำคัญในการปลูกฝังหลักการดำเนิน
ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 4) โครงการตรงกับความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครองและ
ชุมชน 5) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ 6) ท่านมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการจัดทำ
โครงการ 7) โครงการมีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียน 8) มีการกำหนดปฏิทิน
การจัดกิจกรรมของโครงการอย่างเป็นขั้นตอนชัดเจน 9) โครงการมีความคุ้มค่าในการดำเนินการเพราะ
สร้างประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และ 10) ผู้ร่วมดำเนินโครงการทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวางแผน
การนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยผู้ให้ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) ผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อใช้ในการบริหารจัดการ 2) โรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีกับท้องถิ่นและชุมชน 3) ผู้บริหารมี
ภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 4) โรงเรียนมีอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม
เพียงพอและเหมาะกับการดำเนินโครงการ 5) บุคลากรที่ร่วมดำเนินโครงการมีความรู้ความเข้าใจในหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่หลากหลายครอบคลุมกิจกรรมโครงการ 6) บุคลากรมีความรู้ความสามารถ
ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 7) มีแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในและนอกโรงเรียน
ที่หลากหลาย ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูลมี
ความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) คณะกรรมการดำเนินโครงการร่วมจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
อย่างเป็นขั้นตอนชัดเจน 2) มีคำสั่งมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบกิจกรรมแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน 3) ผู้ร่วมดำเนินโครงการมีความพร้อมในการขับเคลื่อนโครงการตามแผนที่วางไว้ 4) มีการประเมิน
คุณลักษณะของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) การดำเนินโครงการ
เป็นไปตามปฏิทินการปฏิบัติงานและแผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ 6) มีการรวบรวมความรู้จากการจัดการ
ความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ 7) การจัดการความรู้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนได้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ 8) มีการสรุปและประชาสัมพันธ์ผลการจัดกิจกรรมโครงการต่อผู้ปกครอง
ชุมชนและหน่วยงานต้นสังกัด 9) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการบูรณาการหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 10) มีการวัดผลประเมินผลการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่ม
สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตร ด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้
ข้อมูลมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็น 1) ชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อโรงเรียน 2) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในคุณลักษณะนิสัยของนักเรียน 3) สถานศึกษามีการจัดการความรู้ในการ
บริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ 4) ผู้ปกครอง
มีความพึงพอใจในคุณลักษณะนิสัยของนักเรียน 5) โรงเรียนมีทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้
ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินโครงการ 6) โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง 7) นักเรียนมีผลงานที่เกิดจากการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ร่วมกับความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย 8) ครูผู้สอนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มี
การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9) นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะตามที่กำหนดในเป้าหมายของโครงการ และ10) นักเรียนมีความรู้ความสามารถในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า โดยภาพรวมผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดและเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะนิสัยตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในประเด็น 1) นักเรียน
มีบันทึกการฝากเงินกับครูประจำชั้นสม่ำเสมอ 2) นักเรียนมีกิริยามารยาทเรียบร้อย 3) นักเรียนให้ความเคารพบิดามารดา ครู และญาติผู้ใหญ่ 4) นักเรียนรักและเคารพสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 5) นักเรียนมีความสุขรักครอบครัวและชุมชน 6) นักเรียนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้ความช่วยเหลือ
ผู้อื่นดี 7) นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน 8) นักเรียนซื้อของกินหรือของใช้ที่เป็นประโยชน์คุ้มค่าของเงินที่จ่ายไป และ 9) นักเรียนเต็มใจช่วยเหลืองานในครอบครัวโดยไม่ดูดาย ด้านความรู้ความสามารถของนักเรียนตามหลักสูตร มีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในประเด็น 1) นักเรียนทำการบ้านสม่ำเสมออย่างมีความสุข 2) นักเรียนสามารถ
ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาความรู้ 3) นักเรียนสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาระดับมัธยม
ศึกษาตามที่ต้องการได้ 4) นักเรียนสามารถอ่านหนังสือได้เหมาะสมตามระดับชั้น 5) นักเรียนกล้าแสดงออก
ในสิ่งที่ดีงาม 6) นักเรียนชอบมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนทุกวัน 7) นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ
เป็นที่น่าพอใจ 8) นักเรียนมีแฟ้มสะสมผลงานจากการเรียนในวิชาต่าง ๆ 9) นักเรียนได้รับรางวัลจาก
การประกวดแข่งขันทักษะในวิชาต่าง ๆ และ 10) นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและค้นคว้า ด้านผลสำเร็จ
ของโครงการมีผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจในประเด็น 1) ท่านมี
ความมั่นใจในคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน 2) นักเรียนร่วมกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างมีความสุข 3) ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการปลูกฝังนิสัยแห่งความพอเพียงให้นักเรียน 4) ท่านต้องการ
ให้โครงการนี้ดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน 5) นักเรียนได้รับความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ 6) ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สนุกสนานและมีประโยชน์ และ 7) สถานศึกษาได้รับรางวัลยกย่อง
เชิดชูเกียรติในเรื่องต่าง ๆ อยู่เสมอ