ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นายคมสัน พิมพ์ทุม ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยครั่ง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียน
คำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อหาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาไทย
หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยครั่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านห้วยครั่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 จำนวน 11 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ใช้ระยะเวลา
ในการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียน
คำยาก เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าการทดสอบแบบที (t-test) และค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ (E1/E2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษามีดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 87.57/90.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและ
การเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การอ่านและ
การเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมนักเรียน
มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) 4.79 และมีค่าเบี่ยงเบน(S.D.) มาตรฐาน 0.39