ชื่อเรื่องที่ศึกษา รายงานการใช้ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางกาญจนา แปงชัย
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปวง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3)แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 แผน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ร้อยละของความก้าวหน้าเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และคำนวณหาประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าเกณฑ์ 80/80
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลการประเมินระหว่างเรียนหรือค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ และผลการประเมินหลังเรียนหรือค่าประเมินประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1 / E2) ได้เท่ากับ 84.42/84.60 ซึ่งประสิทธิภาพของ E1 / E2 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ จึงถือได้ว่าชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่เชื่อถือได้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการใช้ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนทุกคนมีผลต่างของคะแนนเพิ่มขึ้น สูงกว่าก่อนการใช้ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 11.00 คะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละของความก้าวหน้า เท่ากับ ร้อยละ 36.67
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50