ชื่อเรื่อง รายงานการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS
ผู้รายงาน นางสาวสุพรรษา กล้ารอด
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านวังกะทะ ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมด้วยแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่จัดกิจกรรมด้วยแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านวังกะทะ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 แผน รวม 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. แบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นรายเล่ม ทั้ง 9 เล่ม และโดยรวม มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง เศษส่วนที่เท่ากัน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 80.08/80.00 เล่มที่ 2 เรื่อง การเปรียบเทียบเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 80.55/80.40 เล่มที่ 3 เรื่องเศษส่วนอย่างต่ำ มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 80.91/80.10 เล่มที่ 4 เรื่อง เศษเกินและจำนวนคละ มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 81.44/81.20 เล่มที่ 5 เรื่อง การบวกเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 82.13/82.00 เล่มที่ 6 เรื่อง การลบเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 80.95/80.00 เล่มที่ 7 เรื่อง การคูณเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 81.85/81.60 เล่มที่ 8 เรื่อง การหารเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 81.52/81.20 เล่มที่ 9 เรื่องโจทย์ปัญหาของเศษส่วน มีประสิทธิภาพ (E1/(E2) เท่ากับ 82.06/80.40 ประสิทธิภาพโดยรวมของแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (E1/(E2) เท่ากับ 81.20/80.27 ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7148 หมายความว่า หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ตามขั้นตอนวิธีการดำเนินการศึกษาแล้วนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7148 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.48
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดกิจกรรมด้วยแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ค่าคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะประกอบเทคนิคการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง เศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.65