ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน
โรงเรียนบ้านขัวล้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
ชื่อผู้รายงาน: นางสาวณัฐธิฌา พรหมแสง
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านขัวล้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4ปีที่รายงาน : 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน บ้านขัวล้อ เป็นการประเมินการพัฒนาคุณธรรม 8 ประการ แก่นักเรียน ซึ่งประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ ผู้รายงาน ได้ดำเนินการประเมิน โดยใช้รูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านขัวล้อ (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านขัวล้อ และ (4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านขัวล้อ ประชากรที่ใช้ ในการประเมินในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและ ครูผู้สอน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 54 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 54 คน รวมทั้งสิ้น 121 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้รายงานสร้างเครื่องมือ เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ สำหรับใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการประเมิน ดังนี้
แบบสอบถามฉบับที่ 1 ใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมโรงเรียนบ้านขัวล้อ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ
แบบสอบถามฉบับที่ 2 ใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านขัวล้อ ด้านผลผลิต
แบบสอบถามฉบับที่ 3 ใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านขัวล้อ ด้านผลผลิต
แบบสอบถามฉบับที่ 4 ใช้สำหรับผู้ปกครองของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านขัวล้อ ด้านผลผลิต
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลสถานะภาพผู้ตอบแบบสอบถามโดย ใช้ค่าความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ระดับการปฏิบัติโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนบ้านขัวล้อ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ใช้ค่าเฉลี่ย (μ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการประเมิน ผู้สรุปผล ได้ดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อม ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากัน 2 ข้อ คือ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการสามารถนำไปปฏิบัติได้ และโครงการนี้ได้รับการยอมรับจากบุคลากรทุกคนในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านปัจจัยเบื้องต้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ มีจำนวนเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรที่รับผิดชอบการโครงการมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ วิทยากรภายนอกให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับปานกลาง
3. ด้านกระบวนการ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการวางแผนจัดกิจกรรมตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา
คือ ผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้อง มีความตระหนักเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมตามโครงการอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มีการนำผลการประเมินไป ปรับปรุงและพัฒนา อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต ในการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียน บ้านขัวล้อ ในการพัฒนาคุณธรรม 8 ประการประกอบด้วย ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี มีน้ำใจ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านผลผลิต ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม 8 ประการโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านวินัย มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียนด้วยความเต็มใจอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือมาโรงเรียนทันเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรค สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ อยู่ในระดับมาก
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านผลผลิต ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณธรรม 8 ประการโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ด้านวินัย มีระดับการปฏิบัติมากที่สุดและเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของโรงเรียนด้วยความเต็มใจอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ รู้จักปรับตัวเองอยู่รวมกับผู้อื่นอย่างสันติ อยู่ในระดับมาก
ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมามาโรงเรียนทันเวลา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะทั่วไป
จากผลการการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นักเรียนโรงเรียนบ้านขัวล้อ มีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการดำเนินโครงการ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1.1 ด้านการกำหนดนโยบายพัฒนา แนวทางการพัฒนา ควรมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดเป็นนโยบายวางแผนปฏิบัติการ กำหนดบุคลากรผู้รับผิดชอบ และมีการกำกับติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รายงานผลต่อผู้บริหารโรงเรียนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
1.2 ด้านการปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ผู้บริหาร ครูและบุคลากร ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นแบบอย่างของความศรัทธา เคารพนับถือ และรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน มีความสุภาพ อดทน อดกลั้น ควบคุมอารมณ์ มีความรักเมตตา มีความปรารถนาดีต่อศิษย์ เสมอกัน
1.3 ด้านการจัดการเรียนการสอน แนวทางการพัฒนา ควรสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา เน้นการปฏิบัติกิจกรรมจากการเรียนรู้ ครูเป็นกลไกสำคัญในการปลูกจิตสำนึก อบรมนักเรียน มีกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนในทิศทางเดียวกับนโยบาย โดยมีการประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรมควบคู่กับเนื้อหาสาระการเรียนการสอน
1.4 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน แนวทางการพัฒนา ควรปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาด มีระบบสุขาภิบาลที่ดี ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ บริเวณโรงเรียน กำหนดให้มีผู้ดูแลรับผิดชอบ โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการรักษาสภาพแวดล้อมและสาธารณะสมบัติของโรงเรียน
1.5 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนวทางการพัฒนา จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และค่ายกิจกรรมต่าง ๆ ต้องส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักทำความดี โดยเฉพาะด้านจิตอาสา นักเรียนคิดและลงมือทำด้วย
1.6 ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีใน ทุกด้าน โรงเรียนควรทำคู่มือ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมมอบให้ผู้ปกครอง ส่งเสริมให้ผู้ปกครองติดต่อสื่อสารกัน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน จัดสัปดาห์การเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อรับทราบพฤติกรรม อบรมคุณธรรม จริยธรรม เปิดช่องการสื่อสารให้ผู้ปกครองติดต่อครูได้ตลอดเวลา ควรพัฒนาความร่วมมือของชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนด้านต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น
1.7 ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ควรกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรม งาน ดำเนินการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ตามแผนพัฒนา ประกาศเกียรตินักเรียนที่มีคุณงามความดี ยกย่อง ชมเชย มอบเกียรติบัตร ของรางวัล นำข้อเสนอแนะข้อบกพร่องเป็นข้อมูลในการประชุมกลุ่มย่อย หาแนวทางปรับปรุง แก้ไข วางแผนพัฒนาการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
1.8 ด้านการพัฒนาเพื่อสร้างความยั่งยื่น ควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยอาจปรับเปลี่ยนรายละเอียดกิจกรรม เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกน่าเบื่อหน่ายและสร้างความสนใจ กระตือรือร้นของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรจัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนระดับประถมศึกษาในการพัฒนาคุณธรรมตามค่านิยมหลัก 12 ประการ และภายหลังดำเนินการตามโครงการแล้วควรมีการประเมินโครงการ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่สามารถนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
2.2 ควรทำการศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อค้นพบเชิงลึกเกี่ยวกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน เช่น ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม (focus group) หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเชิงทดลอง เป็นต้น
2.3 ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาให้ตรงตามความต้องการข