บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม กลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 14 แผน คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 4.82 แผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสม ระดับมากที่สุด แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 14 ชุด ค่าเฉลี่ยจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 4.75 แสดงว่าแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ถือว่ามีความเหมาะสม ค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.83 ค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 ทุกข้อมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ระหว่างคะแนนรายข้อ กับคะแนนรวมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตรวจสอบสมมติฐาน ใช้ t test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD
เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ
เท่ากับ 84.14/82.25 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ
เทคนิค STAD เรื่องความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีค่าเท่ากับ 0.7346 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 73.46
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่องความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
โดยสรุป ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความ
พึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง ความน่าจะเป็น วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานสามารถพัฒนาผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ