ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๒
ชื่อผู้รายงาน นางพจนีย์ จันทร์ช่วย
โรงเรียน ชุมชนวัดคลองไทร(ฉัตรราษฎร์บำรุง)
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความมุ่งหมายของการศึกษา ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียน การสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียน การสอนทางตรง ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑ โรงเรียนชุมชนวัดคลองไทร(ฉัตรราษฎร์บำรุง) สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๖ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน ๕ เล่ม ๒) คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของข้อสอบทั้งฉบับ ๐.๗๖ และ ๔) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ที่มีค่าเชื่อมั่นของแบบวัด ๐.๖๙ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการหาประสิทธิภาพ ๘๐/๘๐ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการทดสอบที (t test)
ผลการศึกษาพบว่า
๑. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๕ เล่ม เล่มที่ ๑ มีค่าประสิทธิภาพ
๘๑.๓๐/๘๒.๓๓ เล่มที่ ๒ มีค่าประสิทธิภาพ ๘๑.๗๐/๘๐.๖๗ เล่มที่ ๓ มีค่าประสิทธิภาพ
๘๑.๙๗/๘๑.๖๗ เล่มที่ ๔ มีค่าประสิทธิภาพ ๘๑.๗๐/๘๐.๓๓ เล่มที่ ๕ มีค่าประสิทธิภาพ
๘๑.๒๗/๘๓.๓๓ และรวมเฉลี่ยทุกเล่มมีค่าประสิทธิภาพ ๘๑.๕๙/๘๑.๖๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐
ที่กำหนดไว้
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน คำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและ
การเขียนคำควบกล้ำ ประกอบการจัดการเรียนการสอนทางตรง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๒ ในภาพรวมพบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการพบว่า แบบฝึก มีการเรียงลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะ ฝึกให้คิด วิเคราะห์ และสรุปความรู้ และอยากให้ครูใช้แบบฝึกเสริมทักษะทุกครั้งเมื่อทำการเรียน การสอน