ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การส่งเสริมกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) โดยใช้กิจกรรม Active Leaning ในการจัดกา

1. ชื่อนวัตกรรม / แนวทางแก้ปัญหา

การส่งเสริมกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) โดยใช้กิจกรรม Active Leaning ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา

2. ประเด็นปัญหา/ เป้าหมายที่กำหนดไว้

จากสภาพปัญหาของการบริหารจัดการโรงเรียนวัดพุน้อย ตามโครงสร้าง ประกอบด้วย งานบริหารทั้ง 4 ฝ่ายได้แก่ การบริหารวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไปและการบริหารงบประมาณ ได้พบปัญหาและข้อจำกัดหลายประการด้วยกัน คณะทำงานทั้งสามทีมของ PLC ซึ่งประกอบด้วย ทีมผู้นำ ทีมฝึกและทีมสอน ได้พิจารณา รวบรวม วิเคราะห์ ลำดับความสำคัญ แล้วเห็นว่า การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นเร่งด่วน เพราะโรงเรียนคือความคาดหวังของสังคมว่าจะสามารถบ่มเพาะ คนดี คนเก่ง และการอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นักเรียนมาโรงเรียนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านทั้งด้านความรู้ตามาตรฐานการเรียนรู้ ในทุกสาระการเรียนรู้ มีคุณลักษณะที่ดี เป็นคนดีของครอบครัว สังคม ประเทศชาติ มีทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นผู้เรียนศตวรรษที่ ๒๑ มีความสมรรถนะพื้นฐานตามที่หลักสูตรกำหนด โรงเรียนวัดพุน้อยเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจำนวน ๘๕ คนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ มีนักเรียนจำนวน ๗๘ คน และในปีการศึกษา ๒๕๕๘ มีจำนวนนักเรียน ๖๘ คน จะเห็นได้ว่า มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ที่น่าประทับใจอย่างยิ่งคือ นักเรียนในชุมชนที่เป็นเขตบริการ หมู่บ้านพุน้อย และหมู่บ้านหลังเขาทั้งหมดมาเรียนที่โรงเรียนพุน้อยในระดับชั้นที่โรงเรียนวัดพุน้อยจัดการศึกษา ไม่เข้าไปรับการจัดการศึกษาในโรงเรียนในเมือง นักเรียนทุกคนอ่านออกเขียนได้คิดเลขเป็นตามศักยภาพในระดับชั้นที่เรียน แสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองและชุมชนให้ความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดพุน้อย แต่จาการสะท้อนปัญหาต่างๆ รวมถึงความต้องการของผู้ปกครองจากการประชุมผู้ปกครองที่ผ่านมาและจากการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนยังคงต้องพัฒนาต่อไปเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับนักเรียน และเยาวชนไทย คนเก่งหลายๆคนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เพราะขาดทักษะด้านการแก้ปัญหา ในการนำกระบวนการ PLC สู่โรงเรียนวัดพุน้อย โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Active Learning รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PBL เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา จึงได้เกิดขึ้นที่โรงเรียนวัดพุน้อยแห่งนี้

3. วัตถุประสงค์

๓.๑ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนวัดพุน้อย

4. การวางแผนการดำเนินงาน

ขั้นเตรียมการ : Plan

1. สร้างความเข้าใจ ความตระหนักในการแก้ปัญหา การพัฒนาโดยนำกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) มาสู่สถานศึกษา โดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลังใช้คลิปวีดีทัศน์กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ให้ครูได้พูดถึงความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านมา สร้างความเชื่อมั่นในตัวครูว่ามีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน เชื่อว่าการเรียนการสอนของครูจะนำไปสู่การส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ครูแต่ละคนมีความแตกต่างกัน แต่ความร่วมมือร่วมใจ ประสานสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกัลยาณมิตร

๒. สร้างทีมผู้นำ (Leader) ขับเคลื่อน แต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อน PLC (Professional Learning Community) ในโรงเรียนวัดพุน้อย มีผู้เชี่ยวชาญด้าน PLC และวิชาการสาขาต่าง ๆ มาให้คำปรึกษา ชี้แนะการทำ PLC ทั้งศึกษานิเทศก์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

๓. สร้างทีมฝึก (Trainer) จัดทำแผนการขับเคลื่อน PLC (Professional Learning Community) ในโรงเรียนวัดพุน้อย ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพุน้อยและศึกษานิเทศก์

๔. ทีมผู้สอน (Teacher) วิเคราะห์สภาพปัญหาของนักเรียนโรงเรียนวัดพุน้อย ในทุกระดับชั้นจากการเอกสารผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชาแต่ละชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่ และระดับประเทศ จัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

ขั้นดำเนินการ: Do

๑. คุณครูโรงเรียนวัดพุน้อย ทุกคนมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาโดยรวมของนักเรียนทุกระดับชั้นโรงเรียนวัดพุน้อย โดยให้ครูทุกคนได้เล่าถึงปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนการสอน และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๒. คุณครูช่วยกันเรียงลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข จัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๓. สืบค้นแนวคิดและหลักการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๔. ศึกษาแนวคิด หลักการ วิธีการ กระบวนการที่จะใช้สร้างนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๕. สร้าง ออกแบบกิจกรรม และพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ในทุกระดับชั้นแบบบูรณาการในสาระรายวิชา และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๖. คุณครูจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ Active Learning และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๗. คุณครูนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยการจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning ไปสอนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ

๘. คุณครูพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้นและจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

ขั้นตรวจสอบ: Check

๑. นิเทศ กำกับ ติดตามการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดย Active Learning

๒. สรุปผลการนำนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

๓. อภิปรายผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning และร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาต่อไปและจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

๔. สรุปและรายงานผล การดำเนินงาน PLC และจัดทำบันทึกการดำเนินงานใน Logbook

ขั้นนำผลไปสู่การปรับปรุงให้เกิดคุณภาพ : Action

นำผลสรุปที่ได้จากการขับเคลื่อน PLC (Professional Learning Community) โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปรับแผนงาน โครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดคุณภาพ

5. วิธีการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน/กระบวนการทำงาน (บันทึกขั้นตอน/รูปแบบ (Model)/นวัตกรรม)

6. ผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

๖.๑ นักเรียนโรงเรียนวัดพุน้อยมีทักษะการแก้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีกระบวนการ

๖.๒ โรงเรียนมีนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปของ ชิ้นงานและกระบวนการทำงาน

7. ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

๗.๑ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพทุกทีมมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ ตระหนักในความสำคัญของการใช้กระบวนการ PLC ในโรงเรียนวัดพุน้อย โดยใช้กิจกรรม Active Learning ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ Project Based Learning หรือ PBL ในการเรียนรู้สามารถสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้ PBL เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา

๗.๒ กระบวนการ PLC ที่สามารถขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมในระดับหนึ่ง

๗.๓ เครือข่ายวิชาการ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้าน PLC วิชาการ หลากหลายสาขามาร่วมดำเนินการ

8. อุปสรรค/ข้อจำกัด/ข้อขัดข้อง ที่พบในการดำเนินงาน

ระยะเวลาในการดำเนินงานควรเพียงพอเหมาะสม

9. ประเด็นที่ได้เรียนรู้

๙.๑ นวัตกรรมใหม่ๆ จากการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ PBL สามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาได้

๙.๒ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ดีควรเริ่มที่โรงเรียน ไม่ใช่ที่ส่วนกลางกำหนด ซึ่งจะมีความสอดคล้องกับบริบทหรือธรรมชาติของโรงเรียน

10. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานครั้งต่อไป

การพัฒนา PLC ควรมีระยะเวลาเพียงพอที่จะสร้างความเข้าใจ ความตระหนักตลอดจนการสร้างนวัตกรรม ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นมีความสอดคล้องกับทิศทางการจัดการศึกษา 4.o และนโยบายไทยแลนด์ 4.o ซึ่งกล่าวถึงการที่ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

11. นวัตกรรมที่เกิดขึ้น

การส่งเสริมกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) โดยใช้กิจกรรม Active Leaning ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา

โพสต์โดย ธิปต์ : [15 ก.ย. 2560 เวลา 13:17 น.]
อ่าน [6069] ไอพี : 10.0.9.247, 180.183.
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 191,009 ครั้ง
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน

เปิดอ่าน 8,846 ครั้ง
10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม
10 บัญญัติขจัดโรคน้ำท่วม

เปิดอ่าน 7,093 ครั้ง
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!

เปิดอ่าน 17,704 ครั้ง
10 เส้นทางสุดฮอตเที่ยวไทยปี"54 ที่มาแรง
10 เส้นทางสุดฮอตเที่ยวไทยปี"54 ที่มาแรง

เปิดอ่าน 16,079 ครั้ง
เด็กกับโรคหวัด
เด็กกับโรคหวัด

เปิดอ่าน 1,677 ครั้ง
ลมบกและลมทะเล
ลมบกและลมทะเล

เปิดอ่าน 13,238 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

เปิดอ่าน 34,004 ครั้ง
ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21
ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21

เปิดอ่าน 12,894 ครั้ง
รับประทาน "ไก่พื้นเมือง" ดีต่อสุขภาพอย่างไร
รับประทาน "ไก่พื้นเมือง" ดีต่อสุขภาพอย่างไร

เปิดอ่าน 15,111 ครั้ง
มนุษย์เป็นพวกกับลิงอุรังอุตัง ยิ่งกว่าเป็นกับลิงชิมแปนซีและกอริลลา
มนุษย์เป็นพวกกับลิงอุรังอุตัง ยิ่งกว่าเป็นกับลิงชิมแปนซีและกอริลลา

เปิดอ่าน 10,701 ครั้ง
เหตุผลที่กำหนดให้ 25 ธันวาคม เป็นวันคริสต์มาส
เหตุผลที่กำหนดให้ 25 ธันวาคม เป็นวันคริสต์มาส

เปิดอ่าน 12,989 ครั้ง
บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร
บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร

เปิดอ่าน 23,337 ครั้ง
คลิปโครงการ "ลดพุงลดโรค 90 วินาที" โดย สสส. ที่กำลังฮิตสุดๆ ในขณะนี้
คลิปโครงการ "ลดพุงลดโรค 90 วินาที" โดย สสส. ที่กำลังฮิตสุดๆ ในขณะนี้

เปิดอ่าน 8,945 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 80 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง Active Learning ทางรอดของการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21
จดหมายฉบับที่ 80 ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง Active Learning ทางรอดของการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21

เปิดอ่าน 981 ครั้ง
เครื่องหมาย ฯลฯ (ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่)
เครื่องหมาย ฯลฯ (ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่)

เปิดอ่าน 10,806 ครั้ง
ความลับของชาเขียว
ความลับของชาเขียว
เปิดอ่าน 18,938 ครั้ง
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของกระเทียม
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของกระเทียม
เปิดอ่าน 14,495 ครั้ง
"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 14,073 ครั้ง
การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ
การออกกำลังของผู้ที่มีโรคหัวใจ
เปิดอ่าน 9,032 ครั้ง
ISCi : episode 53 - น้ำเรืองแสง
ISCi : episode 53 - น้ำเรืองแสง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ