ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 – 2560: ข้อเสนอเ

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 – 2560: ข้อเสนอเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2546 - 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษระหว่าง พ.ศ. 2546 - 2560 มีประเด็นในการวิจัย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา 4) ด้านคุณภาพการศึกษา และ 5) ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน โดยมีแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลเอกสาร และแหล่งข้อมูลบุคคล แหล่งข้อมูลเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องการจัดการศึกษาพิเศษ พระราชกำหนด กฎกระทรวง ระเบียบ แผนปฏิบัติการประจำปี รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการจัดการศึกษาหนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาพิเศษ จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้การสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม รวมจำนวน 12 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ และ 3) เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์ข้อมูล (Content Synthesis) สรุปผลการวิจัย ดังนี้

สรุปผล

การสรุปผลการวิจัยครั้งนี้นำเสนอเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 พัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2546 - 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และตอนที่ 2 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. พัฒนาการการจัดการศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2546 - 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1 ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ ของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ พ.ศ. 2546 – 2560 มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษทั้งหมด 37 ฉบับ พบว่าช่วงระยะเวลา ปี พ.ศ.2551– 2555 เป็นช่วงระยะเวลาที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษมากที่สุดจำนวน 23 ฉบับ รองลงมา ช่วงระยะเวลา ปี พ.ศ.2556 – 2560 จำนวน 10 ฉบับ และน้อยที่สุด ช่วงระยะเวลา ปี พ.ศ.2546 – 2550 จำนวน 4 ฉบับ ตามลำดับ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีการเพิ่มเติมการออกกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อคุ้มครองหรืออำนวยความสะดวก ทั้งด้านการศึกษา การบำบัด ฟื้นฟู และเยียวยาพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้แก่คนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น

การออกกฎหมายพระราชบัญญัติ และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งหมด 5 ฉบับ ช่วงระยะเวลาที่ออกกฎหมายมากที่สุด คือ ปีพ.ศ.2551– 2555 จำนวน 2 ฉบับ และ พ.ศ.2556 – 2560 จำนวน 2 ฉบับ รองลงมา ปีพ.ศ.2546 – 2550 จำนวน 1 ฉบับตามลำดับ มีการเพิ่มเติมการออกกฎหมายพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อเพิ่มเติมความหมายของครูการศึกษาพิเศษ คนพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ, การส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต, และหน่วยงานของรัฐให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเรื่องการกำหนดอัตราส่วนนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานรัฐรับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม

การออกกฎหมาย กฎกระทรวง และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งหมด 2 ฉบับ ช่วงระยะเวลาที่ออกกฎหมาย ปีพ.ศ.2546 – 2550 เพื่อพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา การขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา การขอยืมและจัดซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

การออกกฎหมาย ระเบียบ และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งหมด 15 ฉบับ ช่วงระยะเวลาที่ออกกฎหมายมากที่สุด คือ ปีพ.ศ.2551– 2555 จำนวน 10 ฉบับ รองลงมาพ.ศ.2556 – 2560 จำนวน 5 ฉบับ ตามลำดับ มีการเพิ่มเติมการออกกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อเพิ่มเติมหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามประเภทความพิการ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ในทุกสังกัดมีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนที่เหมาะสมโดยคำนึงประเภทของความพิการ ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ คนพิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องบัตรคนพิการ ให้บัตรคนพิการมีอายุแปดปีนับแต่วันที่ออกบัตร และคุณสมบัติของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง

การออกกฎหมาย ประกาศ และการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งหมด 13 ฉบับ ช่วงระยะเวลาที่ออกกฎหมายมากที่สุด คือ ปีพ.ศ.2551– 2555 จำนวน 11 ฉบับ รองลงมาพ.ศ.2556 – 2560 จำนวน 2 ฉบับ ตามลำดับ มีการเพิ่มเติมการออกกฎหมาย ประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ และการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อเพิ่มเติมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ต้องประกอบด้วยข้อมูลทั้ง 8 ส่วน คณะกรรมการในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล มีจำนวน ไม่น้อยกว่า 3 คนแต่ไม่เกิน 7 คน และการคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ตามประเภทของ คนพิการมี 9 ประเภท ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เรื่องเบี้ยความพิการรายเดือนมีการเพิ่มอัตราเบี้ยความพิการจากอัตราคนละ 500 บาท/เดือน เป็นอัตราคนละ 800 บาท/เดือน และสถานศึกษา สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่มีสิทธิได้รับการอุดหนุนทางการศึกษาต้องเป็นสถานศึกษาที่รับคนพิการ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายเท่านั้น อีกทั้งศูนย์การศึกษาพิเศษต้อง ได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการในโรงพยาบาล

1.2 ด้านการบริหารจัดการ

ระยะที่ 1 (พ.ศ.2546–2550) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษมีกลุ่มภายใน 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแผนและงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส กลุ่มออกแบบและก่อสร้างในสถานศึกษา กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเฉพาะความพิการ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษาในศูนย์การศึกษาพิเศษและเรียนร่วม กลุ่มพัฒนาระบบบริหารการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนพิการ

ระยะที่ 2 ( พ.ศ.2551 –2555) มีกลุ่มเพิ่มขึ้นมา อีก 1 กลุ่มคือ กลุ่มกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ส่วนในระยะที่ 3 (พ.ศ.2556–2560) มี 10 กลุ่มเช่นเดียวกับ

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีภาระ หน้าที่ ดำเนินงานที่สำคัญในช่วงระยะเวลาต่างๆดังนี้

พ.ศ.2546 – พ.ศ. 2550 ไม่พบข้อมูลการดำเนินการ

พ.ศ.2551 – พ.ศ. 2555 พบการดำเนินงานในประเด็นต่อไปนี้คือ จัดระบบบริหาร จัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล จัดการศึกษาให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับโอกาสได้รับบริการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

พ.ศ.2556 – 2560 พบการดำเนินการในประเด็นต่างๆ เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้ จัดระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล จัดการศึกษาให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับโอกาสได้รับบริการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมพัฒนา ผู้บริหารครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพส่งเสริมให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาสมีคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณอันพึงประสงค์ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ ค่านิยม12 ประการพัฒนาระบบบริหารจัดการเน้นการบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ในศาสตร์เฉพาะทาง พัฒนาระบบสื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเสริมสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง

1.3 ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาเพื่อเด็กพิการและเด็กด้อยโอกา 4 ประเภท ได้แก่ โรงเรียนเฉพาะความพิการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ ศูนย์การศึกษาพิเศษ และจัดการศึกษาพิเศษในโรงพยาบาล ซึ่งในระยะที่ 1 (พ.ศ.2546 – 2550) ประเภทที่ 1โรงเรียนเฉพาะความพิการ มีจำนวน 46 โรงเรียน ของแต่ละประเภท ได้แก่ โรงเรียนสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 18 โรงเรียน โรงเรียนสอนบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 19 โรงเรียน โรงเรียนสอนคนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 2 โรงเรียน และโรงเรียนที่มีความบกพร่องทาง ด้านร่างกาย จำนวน 3 โรงเรียน ประเภทที่ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ มี 11 โรงเรียน ประเภทที่ 3 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มีจำนวน38 โรงเรียน ประเภทที่ 4 ศูนย์การศึกษาพิเศษ กระทรวงฯ จัดให้มีศูนย์ส่วนกลางและมีการจัดให้มีศูนย์เขตการศึกษาจำนวน12 รวม13ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา และศูนย์ประจำจังหวัด 64 ศูนย์ รวมมีศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาและศูนย์ประจำจังหวัด 77 ศูนย์ และประเภทที่ 5การจัดการศึกษาพิเศษในโรงพยาบาล มีจำนวน 52 แห่ง ใน 43 จังหวัด ประเภทที่ 6 ในปี พ.ศ.2528 กองการศึกษาพิเศษรับผิดชอบในการจัดการศึกษาพิเศษ บริหารสถานศึกษาที่จัดสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ จำนวน 11 แห่ง บริหารสถานศึกษาที่จัดร่วมกับมูลนิธิและกรมประชาสงเคราะห์ 7 แห่ง จัดการศึกษาสำหรับคนพิการเป็นชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ 15 แห่ง จัดให้นักเรียนพิการเรียนร่วมกับนักเรียนปกติในชั้นเรียน 13 แห่ง นักเรียนพิการที่ได้รับการศึกษาพิเศษ จำนวน 3,633 คน

ระยะที่ 2 (พ.ศ.2551 – 2555) ประเภทที่ 1 โรงเรียนเฉพาะความพิการ คือ โรงเรียนโสตศึกษาสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีการปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีความพิการเพิ่มจาก 1 ประเภท เป็น 2 ประเภท คือ สอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน และปัญญา มีจำนวน 2 โรง คือ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนนทบุรีและ โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ นอกจากนี้ มีการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนโสตศึกษาขึ้นใหม่อีกจำนวน 1 โรง คือ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดพังงา และมีการจัดตั้งโรงเรียนสำหรับคนพิการทางด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวและสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เพิ่มจากเดิม 3 โรงเรียนเป็น 4 โรงเรียน ประเภทที่ 2 มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จำนวน 11 โรงเรียน ประเภทที่ 3 มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ จำนวน 38 โรงเรียน ประเภทที่ 4มีศูนย์เขตการศึกษาและศูนย์ประจำจังหวัด รวมทั้งสิ้น 77 ศูนย์ และ ประเภทที่ 5 มีการจัดการศึกษาเพื่อรองรับเด็กที่เด็กที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่องอยู่ในโรงพยาบาลและจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล จำนวน 52 แห่ง ใน 43 จังหวัด ประเภทที่ 6 มีการให้บริการตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยมศึกษา โรงเรียนเรียนร่วมระดับประถม ขยายโรงเรียนประถมศึกษาเปิดโครงการเรียนร่วมกับเด็กปกติทั่วประเทศ จำนวน 4,221 แห่ง และจัดชั้นเรียนพิเศษสำหรับเด็กพิการเฉพาะทางในบางจังหวัด ระดับมัธยม ปี 2552 ได้ขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไปเปิดโครงการเรียนร่วม 500 แห่ง ในโรงเรียนของรัฐจากจำนวนโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ และโรงเรียน และโรงเรียนเอกชนสามัญอีก 216 โรง และ จัดโรงเรียนสี่มุมเมืองเป็นกลุ่มโรงเรียน 4 กลุ่ม ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 70 โรง เพื่อเปิดรับนักเรียนพิการเข้าเรียนต่อระดับมัธยม ระดับอาชีวศึกษา โรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา 2 แห่ง สำหรับคนพิการ และเรียนร่วมในวิทยาลัยอาชีวศึกษาอีก 10 แห่ง ระดับปริญญาตรี เปิดบริการเรียนร่วมในสถาบันราชภัฎ 6 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ

ระยะที่ 3 (พ.ศ.2555 – 2560) ประเภทที่ 1โรงเรียนเฉพาะความพิการมีการปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีความพิการเพิ่ม จาก 2 ประเภท ตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไป ได้แก่ โรงเรียนโสตศึกษา รวม มีจำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา รวม 19 โรงเรียนนอกจากนี้ มีการดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 โรงเรียน รับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ประเภทความพิการ คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สุขภาพหรือ การเคลื่อนไหวและบุคคลออทิสติกมีการจัดตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชัยนาท (สำนักงานชั่วคราว) มีการจัดตั้งโรงเรียนศึกษาพิเศษชลบุรี เปิดสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายสุขภาพและการเคลื่อนไหว ประเภทที่ 2 มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จำนวน 11 โรงเรียน ประเภทที่ 3 มีโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ฯ จำนวน 38 โรงเรียน ประเภทที่ 4 มีศูนย์เขตการศึกษาและศูนย์ประจำจังหวัด รวมทั้งสิ้น 77 ศูนย์ และ ประเภทที่ 5 มีการจัดการศึกษาเพื่อรองรับเด็กที่เด็กที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่องอยู่ในโรงพยาบาลและจำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล จำนวน 52 แห่ง ใน 43 จังหวัด ประเภทที่ 6 มีการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมเป็นการ เป็นการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

1.4 ด้านคุณภาพการศึกษา

การดำเนินงานของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ระหว่าง พ.ศ.2546-2560 มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในระดับชั้น ป. 6 ชั้นม.3 และ ชั้น ม. 6 มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ตามประเภทของรูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษผู้เรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ/ศูนย์การศึกษาพิเศษ/การจัดการศึกษาในโรงพยาบาลไม่ต้องเข้ารับการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นผู้เรียนที่มีความพิการเฉพาะ สำหรับผู้เรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ซึ่งเป็นเด็กปกติ เริ่มเข้ารับการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานตั้งแต่ช่วงปีที่ 2 เป็นต้นไป ผู้เรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในช่วงปีที่ 2 และ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 37.31และ 38.54ตามลำดับ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 36.89 และ 35.47 ตามลำดับ และ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย 31.71 และ 31.19 ตามลำดับ และ โรงเรียนเรียนรวม มีการทดสอบแต่ไม่มีการประเมินผลในภาพรวม

ผู้เรียนในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในช่วงปีที่ 2 และ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 33.55และ 35.58 ตามลำดับ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 35.67และ 34.89 ตามลำดับ และ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนเฉลี่ย 31.10 และ 30.31ตามลำดับ

1.5 ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน

การช่วยเหลือสนับสนุนเด็กพิการและด้อยโอกาสทางการศึกษาในระยะที่ 1, 2 และ 3กระทรวงศึกษาธิการให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 145 รายการเท่ากัน ให้ความช่วยเหลือด้านสื่อ จำนวน 379,379 และ 160 รายการ ให้ความช่วยเหลือด้านบริการ จำนวน 40,40 และ 75 รายการ และให้ความช่วยเหลือด้านความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ไม่พบรายการตามลำดับ

การให้ความช่วยเหลือด้านสื่อ ระยะที่ 1, 2 และ 3 กระทรวงศึกษาธิการให้ความช่วยเหลือด้านสื่อลดลงในช่วงปีที่ 3 แต่ให้ความช่วยเหลือด้านบริการเพิ่มขึ้นในปีที่ 3

ระยะที่ 3 รายการสื่อลดลงเนื่องจาก กลุ่มวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ได้ปรับรายการสื่อแต่ละประเภทให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กพิการแต่ละประเภท และเอื้อให้ผู้รับบริการสามารถเลือกรายการสื่อได้ตรงตามประเภทความพิการของเด็กพิการแต่ละประเภทนั้น และเพิ่มรายการให้การสอนเสริมบัญชี ค เนื่องจากให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กพิการในการเข้ารับบริการทางการแพทย์และการศึกษา

ตลอดระยะเวลาในปี 2546-2560 ในด้านทุนการศึกษา นั้น กระทรวงศึกษาธิการได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคุณพุ่ม ในแต่ละช่วง จำนวน 5,000 ทุน 50,610 บาท และ 53,272 ทุน ตามลำดับ เป็นเงินทั้งสิ้น 25,000,000 บาท 253,047,500 บาท และ 266,359,000 บาท ตามลำดับ นอกจากนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย โดย “มูลนิธิน่านฟ้าไทย” ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กพิการ แต่ละช่วง จำนวน 330 ทุนๆ ละ 5,500 บาท 1,118 ทุนๆ ละ 5,500 บาท และในปี 2556 จำนวน 421 ทุนๆ ละ 5,500 บาท ปีการศึกษา 2557 – 2559 จำนวน 836 ทุนๆ ละ 10,000 บาท ตามลำดับ เป็นเงินทั้งสิ้น 1,815,000 บาท 6,149,000 บาท และ 10,675,500 บาทตามลำดับ

ด้านเงินอุดหนุนรายหัว กระทรวงศึกษาธิการให้ความช่วยเหลือด้านเงินอุดหนุนรายหัวตาม ตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วง พ.ศ. 2546 – 2550 ไม่มีข้อมูล ช่วง พ.ศ. 2551 – 2555 สำหรับนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ระดับปฐมวัย นักเรียนประจำ ได้รับ 19,900 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 6,120 บาท/คน/ปี ระดับประถมศึกษา นักเรียนประจำ 19,900 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 6,120 บาท/คน/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนประจำ 19,700 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 5,500 บาท/ คน/ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนประจำ 19,700 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 5,500 บาท/คน/ปี

สำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษในระดับปฐมวัย นักเรียนประจำ ได้รับ 20,320 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 6,120บาท/คน/ปี ระดับประถมศึกษา นักเรียนประจำ 20,320 บาท/คน/ปีนักเรียนไป – กลับ 6,120บาท/คน/ปีระดับมัธยมศึกษาตอนต้นนักเรียนประจำ 20,100 บาท/คน /ปี นักเรียนไป – กลับ 5,900 บาท/คน/ปีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนประจำ 19,700 บาท/คน/ปี และนักเรียนไป – กลับ 5,900 บาท/คน/ปี

ในส่วนค่าอาหารสำหรับนักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษ ระดับปฐมวัย นักเรียนประจำ ได้รับ 27,000 บาท/คน/ปี ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ 1,000 บาท/คน/ปี และค่าอาหารนักเรียน ไป – กลับ 6,600 บาท/คน/ปี

ในช่วง พ.ศ. 2556 – 2560 สำหรับนักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ระดับก่อนประถมศึกษา นักเรียนประจำ ได้รับ 30,600 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 8,920 บาท/คน /ปีระดับประถมศึกษา นักเรียนประจำ 30,600 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 9,120 บาท/คน/ ปีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนประจำ 32,200 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 10,100 บาท/คน/ปีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนประจำ 32,500 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 10,400 บาท/คน/ปี

สำหรับนักเรียนโรงเรียนการศึกษาพิเศษระดับก่อนประถมศึกษา นักเรียนประจำได้รับ 31,020 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 8,920 บาท/คน/ปี ระดับประถมศึกษา นักเรียนประจำ 31,220 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 9,120 บาท/คน/ปีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนประจำ 32,600 บาท/คน/ปี นักเรียนไป – กลับ 10,500 บาท/คน/ปีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนประจำ 32,500 บาท/คน/ปี และนักเรียนไป – กลับ 10,800 บาท/คน/ปี

สำหรับนักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษระดับก่อนประถมศึกษา ค่าอาหารนักเรียนประจำ ได้รับ 27,000 บาท/คน/ปี ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนประจำ 1,000 บาท/คน/ปี ค่าอาหารนักเรียนไป – กลับ 6,600 บาท/คน/ปี

การช่วยเหลือเงินอุดหนุนค่าอาหารรายหัวของนักเรียนพิการศูนย์การศึกษาพิเศษ

ในช่วงปีที่ 1 ไม่พบข้อมูล

ในช่วง พ.ศ. 2551 - 2555 เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ 60 บาทต่อวันนักเรียนไป – กลับ 25 บาทต่อวัน ในช่วงพ.ศ. 2556 – 2560 เงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ 90 บาท ต่อวันและนักเรียนไป – กลับ 30 บาทต่อวันมาจนถึงปัจจุบันตามลำดับ

เงินอุดหนุนค่าอาหารรายหัวสำหรับเด็กพิการ ในช่วง พ.ศ. 2446 – 2550 ไม่มีข้อมูล ช่วง พ.ศ. 2551 – 2550 ได้รับเงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ 60 บาทต่อวัน นักเรียนไป – กลับ 25 บาทต่อวัน ในช่วง พ.ศ. 2556 – 2560 การอุดหนุนเงินอุดหนุนค่าอาหารนักเรียนประจำ 90 บาท ต่อวันนักเรียนไป – กลับ 30 บาทต่อวันมาจนถึงปัจจุบันตามลำดับ

ด้านบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรในการช่วยเหลือและสนับสนุนเด็กพิการและด้อยโอกาสแต่ละช่วง พ.ศ. 2556 – 2560 มีตำแหน่งผู้อำนวยการ จำนวน 173 คน ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ จำนวน 197 คน และ ตำแหน่งข้าราชการ จำนวน 3,719 คน ช่วงพ.ศ.2546 -2550 พ.ศ.2551-2555 และพ.ศ.2556-2560 ได้รับพนักงานราชการ 1,989 คน 2,414 คน และ 2,417 คน ตามลำดับ ได้รับครูอัตราจ้าง จำนวน 239 คน 306 คน และ 637 คน ตามลำดับ ช่วง พ.ศ.2511-2555 และ พ.ศ.2556-2560 ได้รับพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 15,860 คนเท่ากัน เมื่อจำแนกพี่เลี้ยงเด็กพิการปฏิบัติหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วง พ.ศ. 2546 – 2560 ในปีพ.ศ. 2560 จำนวน 11,498 คน รองลงมา พ.ศ. 2550 – 2555 จำนวน 8,492 คน ตามลำดับ

ด้านโครงการ กิจกรรมการยกระดับคุณภาพการศึกษาเด็กพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการได้รับการสนับสนุนโครงการกิจกรรมการยกระดับคุณภาพการศึกษาเด็กพิเศษแต่ละช่วง ในช่วง พ.ศ. 2546 – 2550 ไม่พบข้อมูล จำนวน 12 โครงการ และ 56 โครงการตามลำดับ ความช่วยเหลือโครงการ/กิจกรรม กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการแต่ละช่วง จำนวน 6,32 และ 150 โครงการตามลำดับ เป็นเงินทั้งสิ้น 25,368,888,336 บาท และ 46,245,862,786 บาท ตามลำดับ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ เป็นเงินทั้งสิ้น 7,921,586.80 บาท 153,430,564.99 บาท และ 720,434,689.70 บาทตามลำดับ

2. ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน

2.1 ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.1.1 ควรมีการพัฒนาระบบการบังคับใช้กฎหมายหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับฟ้อง ให้ข้อมูลทางกฎหมายต่อคนพิการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบรรลุใช้กฎหมายประสบความสำเร็จ

2.1.2 ควรมีการปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้เกิดความครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ โดยอาจปรับชื่อว่าพระราชบัญญัติดังกล่าว “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ”

2.1.3 ควรมีพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อเด็กด้อยโอกาส เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

2.1.3.1 ออกกฎหมายสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ทันสมัย และตอบสนองความต้องการของผู้พิการประเภทต่างๆ ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตให้เป็นปกติ

2.1.3.2 ออกกฎหมายที่ระบุสัดส่วนในการรับผู้พิการเข้าทำงาน สถานประกอบการ ทุกแห่งทั้งภาครัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ ให้มีจำนวนผู้พิการเข้าทำงานมากขึ้น เพื่อให้ผู้พิการได้มีอาชีพมีงานทำ เลี้ยงดูตนเองได้ และมีสวัสดิการที่ดูแลผู้พิการให้ประกอบอาชีพได้อย่างมีขีดจำกัดน้อยที่สุด

2.1.3.3 ออกระเบียบที่ระบุสัดส่วนอย่างชัดเจนระหว่างบุคลากรทางการศึกษา ครูการศึกษาพิเศษ ครูพี่เลี้ยงและนักสหวิชาชีพต่างๆ กับเด็กพิการ ที่เหมาะสมกับจำนวนเด็กพิการในโรงเรียนเรียนรวม โรงเรียนเฉพาะความพิการ โรงเรียนอาชีวะ มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลและตรวจสอบให้ มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง

2.1.3.4 ออกระเบียบให้ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนสามารถนำคูปองการศึกษา ไปเลือกซื้อสื่อสำหรับการเรียนรู้ และช่วยเหลือตนเอง ได้ตามความต้องการ ความเหมาะสมและสอดคล้อง กับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลของนักเรียน

2.2 ด้านการบริหารจัดการ

2.2.1 ควรจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาพิเศษ ที่มีความสมบูรณ์ ครบถ้วน รอบด้าน และเป็นปัจจุบัน ประกอบด้วยข้อมูลด้านการบริหารจัดการข้อมูลด้านผู้เรียน ข้อมูลด้านการพัฒนา ข้อมูลด้านบุคลากร ข้อมูลด้านผลการพัฒนา

2.2.2 ควรยกฐานะสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ เป็นส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ดูแลการบริหารด้านคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษา งบประมาณ บุคลากร และการบริหารทั่วไปตามกฎหมายกำหนด

2.2.3 ควรกระจายอำนาจทางการบริหารจัดการศึกษาพิเศษในส่วนภูมิภาค ได้แก่ การมีสำนักงานการศึกษาพิเศษจังหวัด เพื่อเป็นหน่วยประสานงานเพื่อการบริหารจัดการภายในจังหวัดและเชื่อมโยงกับสำนักบริหารการศึกษาพิเศษในส่วนกลาง

2.2.4 ควรมีศูนย์การศึกษาพิเศษอำเภอ เพื่อจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและบุคคล ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่าง เท่าเทียม ทั่วถึง และมีคุณภาพ

2.2.5 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการและ เด็กด้อยโอกาสที่เน้นการบูรณาการของส่วนราชการเช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงความพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การจัดการศึกษาพิเศษเกิดการ มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

2.2.6 ควรเพิ่มกลุ่มนิเทศ ติดตามการจัดการศึกษาของ สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ เพื่อนิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพอการและด้อยโอกาสอย่างเป็นระบบ

2.3 ด้านรูปแบบการจัดการศึกษา

2.3.1 ปรับโครงสร้างและพัฒนาระบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อสารเพื่อรองรับการจัดการศึกษาผ่านระบบดิจิทัล

2.3.2 ควรจัดให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อใช้ในสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกับการศึกษาในส่วนอื่น เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเด็กพิการและด้อยโอกาส รวมถึงพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู

2.3.4 ควรจัดให้มีระบบค้นหา เฝ้าระวัง และช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มในระดับก่อนประถมศึกษาเพื่อดูแล ช่วยเหลือเด็กพิการหรือมีอัตราเสี่ยงและมีแนวโน้มจะพิการ ตลอดจนเด็กด้อยโอกาส ให้ได้รับการพัฒนาในช่วงวัยที่มีพัฒนาการทางด้านต่างๆในอัตราสูงจึงควรได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว

2.4 ด้านคุณภาพการศึกษา

2.4.1 ควรปรับหลักสูตรให้มีทางเลือกที่หลากหลาย สำหรับเด็กด้อยโอกาสที่มีข้อจำกัดในการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นประโยชน์ต่อผู้เรียนในการนำไปใช้ในสภาพจริงของการดำรงชีวิต เน้นทักษะชีวิต ทักษะกระบวนการทำงานและวิชาชีพต่างๆ

2.4.2 โรงเรียนเฉพาะความพิการ ควรจัดหลักสูตรสำหรับคนพิการให้หลากหลายเพื่อให้มีทางเลือก มุ่งเน้นการดำเนินชีวิตอิสระ ทักษะชีวิต ฝึกทักษะอาชีพการมีงานทำตามที่ควรจะเป็นที่เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน เตรียมผู้เรียนโดยการฝึกปฏิบัติงานในสถานที่ประกอบการจริง

2.5 ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน

2.5.1 จัดรายการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษาให้มีความทันสมัยในปัจจุบัน และเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กแต่ละประเภทความพิการ

2.5.2 จัดการบริหารจัดการให้หน่วยบริการบางแห่งให้บริการสื่อ ได้ทันตามเวลาที่กำหนด และได้สื่ออื่นทดแทนตามความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กพิการแต่ละประเภท เป็นรายบุคคล

2.5.3 ควรมีการสร้างเข้าใจให้แก่ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ/ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ในการติดตามการใช้งบประมาณด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.5.4 จัดทุนการศึกษาให้กับเด็กพิการให้มากขึ้น และควรให้สม่ำเสมอทุกปี ให้เด็กพิการสามารถเรียนรู้ที่สามารถช่วยตนเองได้ในการดำรงชีวิตในอนาคต

2.5.5 จัดเงินอุดหนุนค่าอาหารให้เพียงพอสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

2.5.6 การสนับสนุนบุคลากรด้านทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ ให้เพียงพอต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็ก เพื่อให้เด็กพิการมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลที่กำหนดไว้

2.5.7 สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการแก่หน่วยงานในสังกัด เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาเด็กพิการ

2.5.8 สภาพแวดล้อมที่ทุกคนรวมถึงคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามหลักการ Accessibility = การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design) + Assistive Technology + การช่วยเหลือเฉพาะบุคคลที่สมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation) เช่น ทางลาด อุปกรณ์เครื่องช่วยที่เด็กจะเรียนรู้ได้ การวัดผลที่สอดคล้องกับเด็กแต่ประเภท เช่น เด็กตาบอดอาจต้องการข้อสอบเบรลล์ หรือคนอ่านข้อสอบให้ แต่ต้องเพิ่มเวลาให้เหมาะสม

2.5.9 การจัดสรรงบประมาณรายหัวตาม ผู้เรียน (Demand Side Financing) โดยคำนวณค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากพื้นฐานที่ได้รับอาจ Top up ให้ เช่น เด็กอาจได้รับการกายภาพบำบัด แก้ไขการพูดกิจกรรมบำบัด หรืออื่นๆ

2.5.10 ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษและเด็กด้อยโอกาส

2.6 อื่นๆ

2.6.1 ควรมีการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ครูประจำการ ศึกษานิเทศก์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พ่อแม่ หรือผู้ดูแล ควรมีความรู้ด้านการดูแลเด็กแต่ละประเภท) ให้มีความรู้ด้านการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (คนพิการ) เช่น การคัดกรอง การจัดการเรียนรู้ หลักสูตร การวัดประเมินผล ฯลฯ

2.6.2 ควรกำหนดหลักสูตรการจัดอบรมระยะสั้นหรือหลักสูตรเร่งรัดให้ครูประจำการ เพื่อนำรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดการศึกษาให้บุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

2.6.3 ควรกำหนดระบบการผลิตครูควรบรรจุเนื้อหาความรู้ด้านการจัดการสำหรับ คนพิการและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในสถาบันที่มีการผลิตครูอย่างน้อย 9 หน่วยกิต ในหลักสูตรการผลิตครูทุกสาขาวิชา

2.6.4 ควรกำหนดให้มีนักสหวิชาชีพในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาพิเศษ และการจัดการศึกษาสงเคราะห์ ตามความต้องการและจำเป็นในแต่ละประเภทสถานศึกษา

2.6.5 รูปแบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ควรจัดให้มีคุณภาพ โดยกำหนดรูปแบบ ระยะที่ 1 เชิงเนื้อหา ทฤษฎี Face to Face, ออนไลน์ ระยะที่ 1 การทำงานกับเด็กในห้องเรียน Case study ส่งวิทยากรผ่านระบบออนไลน์ และระยะที่ 3 พบวิทยากร และพบกลุ่มเพื่อสรุปขยายผลต่อเนื่อง

2.6.6 ควรพัฒนาการประสานความมือระหว่างทีมสหวิชาชีพ กับผู้ปกครองเพื่อร่วมกันวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และวางแผนในการพัฒนาเด็กพิการร่วมกัน

2.6.7 ควรพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตามและการรายงานผลให้เป็นระบบ ต่อเนื่อง

โพสต์โดย ภูมิ : [4 ก.ย. 2560 เวลา 16:53 น.]
อ่าน [5515] ไอพี : 183.88.8.190
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 30,122 ครั้ง
วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย
วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย

เปิดอ่าน 12,303 ครั้ง
คู่มือพัฒนาตนเองผ่านระบบออนไลน์และการประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย สู่การเป็นครูมืออาชีพ
คู่มือพัฒนาตนเองผ่านระบบออนไลน์และการประชุมปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วย สู่การเป็นครูมืออาชีพ

เปิดอ่าน 35,199 ครั้ง
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?

เปิดอ่าน 18,765 ครั้ง
26 มิถุนายน วันสุนทรภู่
26 มิถุนายน วันสุนทรภู่

เปิดอ่าน 8,790 ครั้ง
ทำไมนะ…ลูกเราถึงไม่ฉลาด
ทำไมนะ…ลูกเราถึงไม่ฉลาด

เปิดอ่าน 24,779 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?
ไขข้อข้องใจ กินเห็ดมีประโยชน์จริงหรือ?

เปิดอ่าน 17,760 ครั้ง
ข่าวดี ! สกัด"ผักติ้ว-สนสามใบ" ยาสู้มะเร็ง ทีมวิจัยไทยเฮทำสำเร็จ
ข่าวดี ! สกัด"ผักติ้ว-สนสามใบ" ยาสู้มะเร็ง ทีมวิจัยไทยเฮทำสำเร็จ

เปิดอ่าน 13,088 ครั้ง
คู่มือและแนวทางปฎิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560)
คู่มือและแนวทางปฎิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560)

เปิดอ่าน 17,787 ครั้ง
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"

เปิดอ่าน 42,948 ครั้ง
กฎหมายตราสามดวง
กฎหมายตราสามดวง

เปิดอ่าน 15,410 ครั้ง
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย
4 ท่าบริหาร เพื่อหน้าท้องเพรียวสวย

เปิดอ่าน 3,419 ครั้ง
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เปิดอ่าน 11,763 ครั้ง
หลักการเสริมฮวงจุ้ยให้ "ห้องรับประทานอาหาร"
หลักการเสริมฮวงจุ้ยให้ "ห้องรับประทานอาหาร"

เปิดอ่าน 30,324 ครั้ง
"เห็ดเผาะ" คืออะไร คุณรู้จักไหม?
"เห็ดเผาะ" คืออะไร คุณรู้จักไหม?

เปิดอ่าน 76,947 ครั้ง
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

เปิดอ่าน 13,527 ครั้ง
"ถั่ว" ยาต้านมะเร็งตับอ่อน
"ถั่ว" ยาต้านมะเร็งตับอ่อน
เปิดอ่าน 13,609 ครั้ง
การกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์
การกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์
เปิดอ่าน 13,519 ครั้ง
พระคุณแม่  (ตอนที่ 1)
พระคุณแม่ (ตอนที่ 1)
เปิดอ่าน 15,126 ครั้ง
ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร
ระบบสุริยะอาจสูญสลาย! เมื่อนักดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ "ดาวมรณะ" กลืนดาวบริวาร
เปิดอ่าน 21,675 ครั้ง
สนามเด็กเล่น แหล่งรวมเกมส์ ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้
สนามเด็กเล่น แหล่งรวมเกมส์ ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ