บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นางปราณี ภูมิพงศ์
ปีที่วิจัย : 2559
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเกณฑ์ที่กำหนด และ4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาล 5(วัดควนขัน) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (One Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการสร้างแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 10 ท่าน มีความคิดเห็นว่าควรใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเน้นการน้อมนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองอีกด้วยและเพิ่มรายได้โดยการจำหน่าย นอกจากนั้นยังได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 2 ท่าน พบว่าการเรียนรู้แบบโครงงานเหมาะสมที่นำไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดรูปแบบการเรียนการสอน
2. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.33/81.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า
3.1 ทักษะการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คิดเป็นร้อยละ 88.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80
3.2 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.12)