บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสระลดรูป
และสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
ผู้รายงาน นางกัตติกมาส พรมรักษ์
สถานที่ / ปีการศึกษา โรงเรียนวัดแม่เปียะ อำเภอนาหม่อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 / ปีการศึกษา 2559
รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดแม่เปียะ จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 54 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดแม่เปียะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 29 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเพราะผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียน
สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 8 เล่ม
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s.d ) หาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึก (E1/E2) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (T test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพ 83/88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระ
ลดรูปและสระเปลี่ยนรูป ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป โดยรวมอยู่ในระดับมาก