วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2559 ให้มีประสิทธิ์ภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
อภิปรายผล
การศึกษา ผลการใช้ชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกมือบา มิตรภาพที่ 223 ประจำปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ที่ใช้การจัดการเรียนซ่อมเสริมครั้งนี้ผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ผู้รายงานได้ศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ในการศึกษาเครื่องมือให้มีความเหมาะสม ผ่านการสร้าง ทดลอง และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้องและเป็นระบบก่อนที่จะนำเครื่องมือดังกล่าวมาใช้กับประชากรที่ใช้ในการศึกษา ดังปรากฏผลดังนี้
1. การพัฒนาชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประจำปีการศึกษา 2559 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.04/83.11 โดยมีค่าเฉลี่ยรวมจากการทำชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 161.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ส่วนผลการประเมินจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนได้ค่าเฉลี่ย 24.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ถือว่าชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ มีประสิทธิ์ภาพสูงกว่าเกณฑ์
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Arthmetic Mean) ของคะแนนพบว่า ค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการศึกษา ผลของคะแนนคือ คะแนนทดสอบก่อนเรียนค่าเฉลี่ยเป็น 13.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.67 ของคะแนนเต็ม และมีคะแนนทดสอบหลังเรียนค่าเฉลี่ยเป็น 24.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.10 ของคะแนนเต็ม ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อผ่านการเรียนด้วยชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีพัฒนาการเรื่องเศษส่วนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่าประเด็นความพึงพอใจที่มากที่สุด คือความพึงพอใจที่มีต่อเนื้อหาสาระในชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ มีความชัดเจนไม่สับสน ทำให้เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และหลังจากใช้ชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์แล้วทำให้ชอบวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย4.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 โดยเฉลี่ยสูงสุดของระดับเดียวกัน และประเด็นความพึงพอใจที่น้อยที่สุด คือ สามารถนำความรู้จากชุดการสอนพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมีค่าเฉลี่ย 4.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26