บทคัดย่อ
แบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นนวัตกรรม ทางการศึกษาอย่างหนึ่ง ที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด ผู้รายงานจึงสนใจในการผลิตสื่อแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครขึ้น โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ
1)หาประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้แบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครระหว่างก่อนและหลังการใช้แบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอ
วานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 3)หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 4)ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ประชากร คือ นักเรียนที่เรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์อากาศยาน 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์
อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ จากแบบฝึกกิจกรรม จำนวน 6 ชุด ชุดละ 5 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้จากแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ของนักเรียนจำนวน 25 ข้อ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีค่าเท่ากับ 84.30/85.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจากที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรม
เครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร มีค่าเท่ากับ 0.7640 หมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.40 นั่นคือ ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางด้านการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.40 หลังจากการเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลอง และวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับ มากที่สุด
สรุปได้ว่า แบบฝึกกิจกรรมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
ที่ผู้รายงานผลิตขึ้นเอง บังเกิดผลดี นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้ในระดับหนึ่ง สามารถนำมาเป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับพัฒนาผลงานวิชาการได้